วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2563

ก้าวใหม่ของการนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาใช้ในการผลิตกายอุปกรณ์

งานกายอุปกรณ์ในประเทศไทยแม้มีการดำเนินงานมาหลาย 10 ปี แต่ก็ยังไม่เป็นที่รู้จักนักในประเทศไทย งานกายอุปกรณ์สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท ใหญ่ๆ คือ งานกายอุปกรณ์เสริม (อุปกรณ์ดามโดยคนไข้ยังมีร่างกายส่วนนั้นๆอยู่ แต่อาจมีปัญหา แข็งเกร็ง อ่อนแรง หรือ ผิดรูป ) และ งานกายอุปกรณ์เทียม (สร้างทดแทดการสูญเสียส่วนของร่างกาย เช่น แขนเทียม ขาเทียม)

ในประเทศไทยผู้มีใบประกอบโรคศิลป์ ในการผลิต ออกแบบ วางแผน ในการรักษาผู้ป่วยด้วยชิ้นงานด้านกายอุปกรณ์ เรียกว่า นักกายอุปกรณ์ โดยหลักสูตรกายอุปกรณศาสตร์บัณฑิต ในประเทศ มีเปิดสอนอยู่ที่แรกและที่เดียว คือ สาขากายอุปกรณ์ สังกัด คณะแพทยศาสตร์ศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล (ไม่ใช่หมอ และคนละหลักสูตรกับสาขา แพทยศาสตร์)

ปกติแล้วในการที่นักกายอุปกรณ์จะผลิตชิ้นงานหล่อเฉพาะรายให้กับคนไข้แต่ละรายนั้นวิธีการค่อนข้างจะซับซ้อนหลายขั้นตอน เมื่อ  7 ปีก่อน ข้าพเจ้าได้เขียนถึงขั้นตอนการผลิตชิ้นงานหล่อเฉพาะรายชนิดเบรสดามขาไว้ ที่นี่ https://artitayacenter.blogspot.com/2013/03/ankle-foot-orthosis-plastic-type.html
จะพบว่าขั้นตอนปกติที่ใช้ทำอุปกรณ์นั้นค่อนข้างสิ้นเปลืองเวลา และทรัพยากร อยู่มาก 

จนกระทั่งในปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยีได้ถูกพัฒนามากมากขึ้น การนำโปรแกรมคอมพิเตอร์เข้ามาใช้ในการผลิตกายอุปกรณ์ก็เริ่มมีให้เห็นขึ้นเรื่อยๆ เช่นในประเทศไทย ปัจจุบัน (พศ 2563) พบว่าหลายภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน เริ่มมีการนำ Computer- Aided Design , CAD มาใช้ในการผลิต แผ่นรองในรองเท้า กันแล้ว มีทั้งประเภทขึ้นรูปโดยการกัด ( Milling) หรือประเภทการพิมพ์สามมิติ (3D printing) อย่างไรก็ตามสำหรับการผลิตกายอุปกรณ์โดยใช้ CAD จากแหล่งอื่น ที่ไม่ใช่จากนักกายอุปกรณ์ผู้มีใบประกอบโรคศิลป์ อันนี้จะไม่กล่าวถึงนะคะ เพราะไม่มีรายละเอียดข้อมูลตรงนี้

ช่วงที่ข้าพเจ้าทำคลินิกกายอุปกรณ์ ที่ประเทศสิงคโปร์ โชคดีมากที่ทางคลินิกมีการตื่นตัวและเริ่มใช้ CAD ในการผลิตกายอุปกรณ์ในทุกส่วนของร่างกายมาหลายปีแล้ว ทั้งเพื่อผลิต ขาเทียม แขนเทียม เบรสตามลำตัว เบรสดามขา แผ่นรองในรองเท้า เป็นต้น ทำให้ข้าพเจ้าได้มีโอกาสฝึกอบรบการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer - Aided  Design , CAD และ Computer - Aided manufacturing, CAM) จนคล่องมือ เมื่อเทียบผลลัพธ์ของชิ้นงานที่มาจากการผลิตโดยวิธิดั้งเดิม กับ การผลิตโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ก็พบว่าน่าพึงพอใจไม่แพ้กัน (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ skill ของแต่ละบุคคล) สำหรับนักกายอุปกรณ์มือใหม่ โปรแกรมคอมพิวเตอร์อาจช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าด้วยซ้ำ เพราะตัวโปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถคำนวณค่าปริมาณเนื้อโมเดลที่ถูกลบออกหรือแต่งเพิ่มได้โดยอัตโนมัติ แต่การทำกายอุปกรณ์ดั้งเดิมต้องอาศัยการฝึกทำจนเชี่ยวชาญเหมือนแม่ครัวที่ปรุงรสอาหารให้อร่อยโดยไม่ต้องตักชั่งตวงเครื่องปรุง ข้อได้เปรียบอื่นๆ ของการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พอจะนึกออกคร่าวๆ เช่น


  •           ปกตินักกายอุปกรณ์จะต้องหล่อแบบคนไข้โดยใช้เฝือกปูนหล่ออวัยวะนั้นๆของคนไข้ เช่น ขา หรือ ลำตัว ซึ่งมันจะ เลอะเทอะไปด้วยปูน กรณีหล่อลำตัวคนไข้อาจยิ่งรู้สึกอึดอัดที่นักกายฯจะต้องพันเฝือกปูนรอบตัวคนไข้ รวมถึงกดจัดท่า จัดตำแหน่งร่างกาย ในขณะที่หากใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ นักกายฯเพียงใช้ตัวสแกน สแกนตัวคนไข้ ทำให้คนไข้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น ไม่ต้องรู้สึกอึดอัดกับการถูกสัมผัส
  •           ประหยัดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการสแกนแทนการหล่อแบบ การแต่งโมเดลในคอมพิวเตอร์แทนการแต่งหุ่นปูน
  •           ลดฝุ่นจากการใช้ปูน ลดพื้นที่ในการทำงาน โดยเฉพาะคลินิกขนาดเล็ก
  •         กรณีคนไข้ไม่สะดวกมาคลินิก เช่นคนไข้ติดเตียง นักกายฯ สามารถเดินทางไปสแกนตัวคนไข้ได้ง่าย ไม่ต้องเตรียมอะไรวุ่นวาย (ตัวสแกนที่ข้าพเจ้าเคยใช้โดยปกติคือ IPAD ติด Isense)
การใช้ CAD ในการออกแบบกายอุปกรณ์ ผลลัพธ์สามารถเลือกให้ออกมาเป็น โมเดล เพื่อใช้ในการขึ้นรูปชิ้นงานตามกระบวนการเดิม ดังรูป (โมเดล AFO) ก็ได้ หรือออกมาเป็นชิ้นงานสำเร็จที่เลือกสีสันลวดลายไว้แล้วก็ได้ ดังรูป







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บันทึก 02 เทคโนโลยีกายอุปกรณ์

  Part I:  sco brace ( พลาสติกดามลำตัว สำหรับผู้มีกระดูกสันหลังคดงอ )  ✍️เก็บแบบโดยใช้วิธีวัดขนาด+ภาพถ่าย+ xray ไม่ได้ใช้ 3D scanner  💻Brac...