วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2556

ขั้นตอนการทำ เบรสดามขาชนิดสั้น Ankle Foot Orthosis (plastic type)

ขั้นตอนการทำ เบรสดามขาชนิดสั้น Ankle Foot Orthosis (plastic type)

             บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อให้ผู้อ่านที่สนใจเกี่ยวกับงานด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูด้านนี้หรือผู้ที่ต้องการศึกษาด้านนี้เพิ่มเติม ได้เห็นแง่มุมของงานกายอุปกรณ์ที่ชัดเจนมากขึ้น มิได้สำหรับผู้ที่ไม่ได้เรียนด้านกายอุปกรณ์มาก่อนแล้วนำไปใช้ทำอุปกรณ์เอง เพราะงานด้านกายอุปกรณ์เป็นงานที่ใช้ความรู้หลายด้าน ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ความรู้ทั่วไป วิทยาการการแพทย์ และความรู้ทางกายอุปกรณ์  เป็นวิชาชีพที่ต้องได้รับการศึกษาโดยจำเพาะ มีใบประกอบโรคศิลปะ จึงจะสามารถทำอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพออกมาได้จริง นอกจากศึกษาตามความรู้ที่มีอยู่เดิมแล้ว ยังต้องรู้จักคิดต่อยอดความรู้เดิมและรู้จักนำมาใช้ให้เหมาะสม

                 นอกเรื่องอีกอย่างนึงคือเกณฑ์การแบ้งผู้ผลิตกายอุปกรณ์ เรียกว่า category ซึ่งกายอุปกรณ์จะแบ่งเป็น
category I หมายถึงนักกายอุปกรณ์ซึ่งจบสาขานี้มาในระดับปริญญา แล้วก็จะมีโอกาสเข้าสอบ ISPO เป็นการสอบให้ผ่านมาตรฐานสากลของงานกายอุปกรณ์ category I ที่สอบผ่าน ISPO ก็เหมือนเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับจะไปทำงานด้านนี้ที่ต่างประเทศก็ได้ แต่ถ้าสอบไม่ผ่านก็ประมาณว่าเป็นนักกายอุปกรณ์ได้แต่ในประเทศไทย ปัจจุบันมีที่เรียนหลักสูตรนี้ในประเทศไทยเพียงที่เดียวคือ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตรศิริราช สาขากายอุปกรณ์ 

category II คือคนที่จบอนุปริญญาด้านกายอุปกรณ์ อันนี้ตอนนี้ไม่เห็นมีเปิดหลักสูตรในไทยนะค่ะ เมื่อก่อนอาจเคยมีไม่แน่ใจ (ประเภทนี้บางประเทศก็มีสิทธิรักษาคนไข้ได้ บางประเทศก็ไม่อนุญาตโดยต้องรักษาคนไข้ภายใต้การดูแลของcategory I )

category III คือผู้ที่ผ่านการอบรมงานด้านกายอุปกรณ์ ไม่มีสิทธิรักษาคนไข้แต่จะเป็นผู้ช่วยให้นักกายอุปกรณ์ค่ะ
            

                ทั้งนี้กายอุปกรณ์ที่พิจารณาให้คนไข้นั้นจะพิจารณาสำหรับบุคคลเป็นรายๆไป แม้ในใบสั่งจะใช้อุปกรณ์ชื่อเหมือนกัน เช่น เบรสดามขาชนิดสั้น แต่ก็สามารถทำออกมาได้ผลที่แตกต่างกัน (เคยเจอกรณีที่ คนไข้มีอุปกรณ์เดิมเป็นเบรสดามขาชนิดสั้นแบบไม่มีข้อ อุปกรณ์ตัวใหม่เราก็ทำชนิดเดิมให้เค้า แต่เพิ่มความแข็งแรงของจุดรับเเรงกระแทกตรงข้อเท้ามากขึ้น ปรากฎว่าคนไข้ใส่แล้วเดินได้สวยขึ้นมากอย่างเห็นได้ชัด)  

มาดูขั้นตอนการทำกันเลยค่ะ
  1. การหล่อแบบ casting and measurement
         การหล่อแบบ AFO มักทำในท่านั่ง ให้คนไข้นั่งบนเก้าอี้ งอเข่า 90 องศา พันขาด้วย M wrap แล้ววาดปุ่มกระดูกต่างๆด้วยปากกาเมจิก จากนั้นใช้สายวัดตัวและ M-L diameter วัดความยาวและเส้นรอบวงของขาเสร็จแล้วใช้สายยางขนาดเล็กพาดไว้ที่ขาสำหรับรองขณะตัดเฝือกปูน 
         ต่อไปคือนำเฝือกปูนจุ่มน้ำแล้วพันให้รอบขา ก่อนที่ปูนจะแห้ง ต้องจัดท่าของเท้าให้เรียบร้อย (neutral position) เมื่อปูนเซ็ทตัวดีแล้วให้ใช้คัทเตอร์กรีดตามรอยสายยางเพื่อดึงเฝือกปูนออก
ก็จะได้เฝือกปูนหรือ negative cast ดังรูปด้านล่างค่ะ ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง
ซ้ายมือคือ negative cast ของเบรสดามขาชนิดยาว ขวาคือเบรสดามขาชนิดสั้น
    หลังจากได้ negative cast มาแล้ว ก็ปิดรอยตัดให้สนิทกับเฝือกปูน แต่ถ้าข้อเท้ายังไม่ได้รูปตามต้องการก็จัดแต่งได้เล็กน้อยในขั้นตอนนี้ จากนั้นล้างเฝือกปูนด้านในด้วยน้ำสบู่ แล้วเทปูนพลาสเตอร์ลงไป ดังรูปล่างนี้
เพิ่มคำอธิบายภาพ
หลังจากเทปูนลงใน cast และฝังลงถังทรายแล้ว รอประมาณ 20 นาทีให้ปูนแห้งจึงเริ่มขั้นตอนต่อไป

   2. การแต่งหุ่นปูน modification
เมื่อปูนที่เทไว้แแห้งดีแล้ว ก็แกะเฝือกปูนทิ้งไปเราก็จะได้ หุ่นปูน หรือ positive cast แล้วก็นำหุ่นปูนตัวนี้มา แต่งให้ได้รูปขาสำหรับขึ้นรูปพลาสติก ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นอยูjกับความยากง่ายของดีไซน์อุปกรณ์ ขนาด และความสมบูรณ์ของ negative cast คือถ้าหล่อแบบมาดีแต่แรกก็ไม่ต้องแต่งหุ่นปูนมากนัก เสร็จเรีบยร้อยก็ทิ้งไว้ให้แห้ง ดังรูปข้างล่าง
      
ขณะกำลังแต่งปูน ^.^



3. การขึ้นรูปพลาสติก
           นำหุ่นปูนที่แต่งเสร็จและแห้งดีแล้วมาเสียบไว้ที่ท่อดูดอากาศ สวมถุงน่องสองชั้น เพื่อให้อากาศดูดได้ทั่งถึง แล้วเตรียมแผ่นพลาสติก (polypropylene) ขนาดพอคลุมหุ่นปูน นำไปอบในตู้อบ ประมาณ 180 องศาเซลเซียส เมื่อพลาสติกสุกดีแล้ว(สีจะใส จากเดิมที่ขาวขุ่น) ก็นำขึ้นมาคลุมหุ่นปูน แล้วเปิดวาล์ว ดูดอากาศให้พลาสติกแนบไปกับหุ่นปูน เป้นอันเรีบยร้อยในขั้นตอนนี้ ที่ต้องระวังในขั้นตอนนี้คือ คลุมพลาสติกให้สนิท ถ้ามีช่องว่างลมจะไม่ดูด, ระวังพลาสติกและตู้อบ เพราะมันร้อนมาก, อย่าลืมทาแป้งบนถุงน่องก่อนคลุมพลาสติก , ขณะคลุมต้องระวังไม่ให้พลาสติกย่นหรือเป็นรอย , และต้องทำอย่างรวดเร็วก่อนพลาสติกจะเซ็ตตัว
ภาพขณะขึ้นรูปพลาสติก สัมนาที่ SSPO ปี 2012
    4. เตรียมลองอุปกรณ์ 
ต่อไปเมื่อขึ้นรูปพลาสติกแล้วก็ทิ้งไว้ให้หายร้อน ที่จริงควรทิ้งไว้ซัก 1 วัน เพราะถ้ารีบแกะออกพลาสติกมักจะขยายออก แล้วก็วาดขอบเขตของอุปกรณ์ (Trimline) ว่าจะใช้ส่วนไหนบ้าง แล้วก็ตัดออกมา ถ้าเป็น polypropylene จะใช้ cast cutter ตัด แต่ถ้าเป็น polyethylene ใช้คัตเตอร์กรีดเอาก็ได้

ตัดออกมาแล้วจะเห็นว่าขอบพลาสติกมันขรุขระมาก เราก็จะนำมันไปขัดให้เรียบเนียนก่อนกับ router  machine 

ขัดเสร็จแล้วก็จะได้เบรสเนียนเรียบสวยอย่างด้านบน เท่านี้ก็พร้อมสำหรับไปลองใส่กับคนไข้แล้วค่ะ 

หลังจากลองใส่ให้คนไข้เสร็จแล้ว ก็จะมีการตัดแต่งและติดสายรัดให้เรียบร้อย จากนั้นจะประเมิณคนไข้กับอุปกรณ์สอนเนะนำการใช้ ถ้าไม่มีปัญหาอะไรก็เรียบร้อย กลับบ้านได้ :D แล้วจึงนัดติดตามผลเป็นระยะๆ


เสร็จเรียร้อย ^.^

7 ความคิดเห็น:

  1. คือตอนนี้ใส่ AFO แบบสั้นอยู่ แต่เค้าทำออกมาไม่เห็นดีและสวยเหมือนในรูปที่เห็นเลยคือ มันใหญ่เทอะทะและไม่ค่อยรับกับสรีระของเท้าเราเท่าไหร่ เลยคิดอยากจะหล่อและทำใหม่ เพราะเราต้องใส่ทั้งสองข้างเลย อยากสอบถามว่ารับทำมั้ยและคิดราคาเท่าไหร่ และไปทำได้ที่ไหนคะเพราะตอนนี้เวลาเดินมันไม่เต็มเท้าและเริ่มเดินเขย่งๆ แล้ว รบกวนช่วยด้วยนะคะ ป.ล.ติดต่อเราได้ที่ 0827996969 เก๋

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ4 สิงหาคม 2556 เวลา 04:57

    สอบถามค่ะ พอดีลูกชายไปผ่าตัดข้อเท้ามา ตอนนี้น้องยังไม่ยอมเดินเองได้อีก(น้องเป็นเด็กออทิติกค่ะ กล้ามเนื้อขาอ่อนแรงด้วย) ไม่ทราบว่าน้องจะสามารถใส่ขาตัวนี้ได้มัยค่ะ แล้วจะต้องติดต่อที่ไหน

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ถ้าน้องมีปัญหาเท้าตก(เท้าลากไม่พ้นพื้นขณะเดิน)เนื่องจากปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง ตัว AFo ช่วยพยุงข้อเท้าเด็กได้ค่ะ หรือถ้ามีการผิดรูปของเท้าร่วมด้วย ตัวอุปกรณ์จะช่วยดัดแก้(ขณะใส่)และป้องกันไม่ให้ผิดรูปเพิ่มขึ้น และสามารถใช้ดามหลังผ่าตัดข้อเท้า(กรณีกล้ามเนื้อไม่สมดุล)เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำอีก
      แต่หากน้องไม่ยอมเดินเองเพราะปัญหาทางจิตใจ(ออทิติก) แนะนำให้พบนักกิจกรรมบำบัดค่ะ
      สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ decemtimes@yahoo.co.th ค่ะ

      ลบ
  3. ถ้าน้องมีปัญหาเท้าตก(เท้าลากไม่พ้นพื้นขณะเดิน)เนื่องจากปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง ตัว AFo ช่วยพยุงข้อเท้าเด็กได้ค่ะ หรือถ้ามีการผิดรูปของเท้าร่วมด้วย ตัวอุปกรณ์จะช่วยดัดแก้(ขณะใส่)และป้องกันไม่ให้ผิดรูปเพิ่มขึ้น และสามารถใช้ดามหลังผ่าตัดข้อเท้า(กรณีกล้ามเนื้อไม่สมดุล)เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำอีก
    แต่หากน้องไม่ยอมเดินเองเพราะปัญหาทางจิตใจ(ออทิติก) แนะนำให้พบนักกิจกรรมบำบัดค่ะ
    สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ decemtimes@yahoo.co.th ค่ะ

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ14 ธันวาคม 2556 เวลา 05:42

    พี่สาวเป็นโปลิโอค่ะ ขาขวาลีบเล็กและสั้นกว่าขาซ้าย เวลาเตินจะใช้มือค้ำที่เข่าขวาเพื่อยกขา ทำให้กระดูกสันหลังโค้งงอไปดันออวัยวะภายในเช่นปอด อยากทราบว่าเบรสนี้จะช่วยได้ไหมคะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เบรสรูปด้านบนสั้นไปคะ จะต้องใช้พลาสติกดามขาแบบยาว เรียกว่า knee ankle foot orthosis คะ โดยจะช่วยพยุงเข่าขณะเดินไม่ให้พับล้มขณะเดิน ป้องกันเ้ทาตกถ้ามีปัญหาเท้าตกร่วมด้วย และเสริมความสูงให้ขาสองข้างเท่ากันคะ
      ปัญหากระดูสันหลังโค้งงอก็ต้องมาดูกันก่อนว่าที่จริงแล้วเกิดจากอะไร อาจเป็นเพราะขาไม่เท่ากันตอนยืน สะโพกเลยเอียงดึงให้สันหลังงอตามคะ
      เจ้าของกระทู้เพิ่งอ่านเจอคำถามเลยตอบช้านะคะ ขออภัยคะ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ decemtimes@yahoo.co.th นะคะ จะเช็คเมลอยู่ตลอดคะ

      ลบ
  5. ในกรณีที่หัวเข่าไม่มีแรง จะต้องใช้เบรสยาวครับ คือจะยาวขึ้นไปถึงต้นขา จะช่วยพยุงให้ขาเหยียดตรงเวลาเดิน ควรรีบพาพี่สาวไปพบแพทย์นะครับ ยิ่งทิ้งไว้นานจะแก้ไขลำบากและอาจเกิดอาการอื่นแทรกซ้อนด้วยครับ

    ตอบลบ

บันทึก 02 เทคโนโลยีกายอุปกรณ์

  Part I:  sco brace ( พลาสติกดามลำตัว สำหรับผู้มีกระดูกสันหลังคดงอ )  ✍️เก็บแบบโดยใช้วิธีวัดขนาด+ภาพถ่าย+ xray ไม่ได้ใช้ 3D scanner  💻Brac...