วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2563

ก้าวใหม่ของการนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาใช้ในการผลิตกายอุปกรณ์

งานกายอุปกรณ์ในประเทศไทยแม้มีการดำเนินงานมาหลาย 10 ปี แต่ก็ยังไม่เป็นที่รู้จักนักในประเทศไทย งานกายอุปกรณ์สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท ใหญ่ๆ คือ งานกายอุปกรณ์เสริม (อุปกรณ์ดามโดยคนไข้ยังมีร่างกายส่วนนั้นๆอยู่ แต่อาจมีปัญหา แข็งเกร็ง อ่อนแรง หรือ ผิดรูป ) และ งานกายอุปกรณ์เทียม (สร้างทดแทดการสูญเสียส่วนของร่างกาย เช่น แขนเทียม ขาเทียม)

ในประเทศไทยผู้มีใบประกอบโรคศิลป์ ในการผลิต ออกแบบ วางแผน ในการรักษาผู้ป่วยด้วยชิ้นงานด้านกายอุปกรณ์ เรียกว่า นักกายอุปกรณ์ โดยหลักสูตรกายอุปกรณศาสตร์บัณฑิต ในประเทศ มีเปิดสอนอยู่ที่แรกและที่เดียว คือ สาขากายอุปกรณ์ สังกัด คณะแพทยศาสตร์ศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล (ไม่ใช่หมอ และคนละหลักสูตรกับสาขา แพทยศาสตร์)

ปกติแล้วในการที่นักกายอุปกรณ์จะผลิตชิ้นงานหล่อเฉพาะรายให้กับคนไข้แต่ละรายนั้นวิธีการค่อนข้างจะซับซ้อนหลายขั้นตอน เมื่อ  7 ปีก่อน ข้าพเจ้าได้เขียนถึงขั้นตอนการผลิตชิ้นงานหล่อเฉพาะรายชนิดเบรสดามขาไว้ ที่นี่ https://artitayacenter.blogspot.com/2013/03/ankle-foot-orthosis-plastic-type.html
จะพบว่าขั้นตอนปกติที่ใช้ทำอุปกรณ์นั้นค่อนข้างสิ้นเปลืองเวลา และทรัพยากร อยู่มาก 

จนกระทั่งในปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยีได้ถูกพัฒนามากมากขึ้น การนำโปรแกรมคอมพิเตอร์เข้ามาใช้ในการผลิตกายอุปกรณ์ก็เริ่มมีให้เห็นขึ้นเรื่อยๆ เช่นในประเทศไทย ปัจจุบัน (พศ 2563) พบว่าหลายภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน เริ่มมีการนำ Computer- Aided Design , CAD มาใช้ในการผลิต แผ่นรองในรองเท้า กันแล้ว มีทั้งประเภทขึ้นรูปโดยการกัด ( Milling) หรือประเภทการพิมพ์สามมิติ (3D printing) อย่างไรก็ตามสำหรับการผลิตกายอุปกรณ์โดยใช้ CAD จากแหล่งอื่น ที่ไม่ใช่จากนักกายอุปกรณ์ผู้มีใบประกอบโรคศิลป์ อันนี้จะไม่กล่าวถึงนะคะ เพราะไม่มีรายละเอียดข้อมูลตรงนี้

ช่วงที่ข้าพเจ้าทำคลินิกกายอุปกรณ์ ที่ประเทศสิงคโปร์ โชคดีมากที่ทางคลินิกมีการตื่นตัวและเริ่มใช้ CAD ในการผลิตกายอุปกรณ์ในทุกส่วนของร่างกายมาหลายปีแล้ว ทั้งเพื่อผลิต ขาเทียม แขนเทียม เบรสตามลำตัว เบรสดามขา แผ่นรองในรองเท้า เป็นต้น ทำให้ข้าพเจ้าได้มีโอกาสฝึกอบรบการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer - Aided  Design , CAD และ Computer - Aided manufacturing, CAM) จนคล่องมือ เมื่อเทียบผลลัพธ์ของชิ้นงานที่มาจากการผลิตโดยวิธิดั้งเดิม กับ การผลิตโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ก็พบว่าน่าพึงพอใจไม่แพ้กัน (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ skill ของแต่ละบุคคล) สำหรับนักกายอุปกรณ์มือใหม่ โปรแกรมคอมพิวเตอร์อาจช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าด้วยซ้ำ เพราะตัวโปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถคำนวณค่าปริมาณเนื้อโมเดลที่ถูกลบออกหรือแต่งเพิ่มได้โดยอัตโนมัติ แต่การทำกายอุปกรณ์ดั้งเดิมต้องอาศัยการฝึกทำจนเชี่ยวชาญเหมือนแม่ครัวที่ปรุงรสอาหารให้อร่อยโดยไม่ต้องตักชั่งตวงเครื่องปรุง ข้อได้เปรียบอื่นๆ ของการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พอจะนึกออกคร่าวๆ เช่น


  •           ปกตินักกายอุปกรณ์จะต้องหล่อแบบคนไข้โดยใช้เฝือกปูนหล่ออวัยวะนั้นๆของคนไข้ เช่น ขา หรือ ลำตัว ซึ่งมันจะ เลอะเทอะไปด้วยปูน กรณีหล่อลำตัวคนไข้อาจยิ่งรู้สึกอึดอัดที่นักกายฯจะต้องพันเฝือกปูนรอบตัวคนไข้ รวมถึงกดจัดท่า จัดตำแหน่งร่างกาย ในขณะที่หากใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ นักกายฯเพียงใช้ตัวสแกน สแกนตัวคนไข้ ทำให้คนไข้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น ไม่ต้องรู้สึกอึดอัดกับการถูกสัมผัส
  •           ประหยัดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการสแกนแทนการหล่อแบบ การแต่งโมเดลในคอมพิวเตอร์แทนการแต่งหุ่นปูน
  •           ลดฝุ่นจากการใช้ปูน ลดพื้นที่ในการทำงาน โดยเฉพาะคลินิกขนาดเล็ก
  •         กรณีคนไข้ไม่สะดวกมาคลินิก เช่นคนไข้ติดเตียง นักกายฯ สามารถเดินทางไปสแกนตัวคนไข้ได้ง่าย ไม่ต้องเตรียมอะไรวุ่นวาย (ตัวสแกนที่ข้าพเจ้าเคยใช้โดยปกติคือ IPAD ติด Isense)
การใช้ CAD ในการออกแบบกายอุปกรณ์ ผลลัพธ์สามารถเลือกให้ออกมาเป็น โมเดล เพื่อใช้ในการขึ้นรูปชิ้นงานตามกระบวนการเดิม ดังรูป (โมเดล AFO) ก็ได้ หรือออกมาเป็นชิ้นงานสำเร็จที่เลือกสีสันลวดลายไว้แล้วก็ได้ ดังรูป







Suspension ของขาเทียม, ตัวยึดขาเทียม

คิดอยู่สักพักสำหรับชื่อต้นสำหรับโพสต์ไม่ค่อยจะออก ขออธิบายก่อนว่า suspension ในที่นี่ก็คือส่วนที่ยึดขาเทียม(หรือแขนเทียม หรืออะไรก็ตาม)​ไว้กับตอขา (หรือตอแขน หรือส่วนอื่นของร่างกาย) ในที่นี่แทนที่จะเรียกว่าตัวยึดหรืออะไรทำนองนั้น ขอเรียกว่า suspension นะคะ
สำหรับขาเทียม เนี่ย ตัว suspension มีหลายแบบ ได้แก่
1) พวกที่ถูกใช้มากสุด เพราะส่วนใหญ่​ขาเทียมฟรีจากสิทธิ์​ผู้พิการในไทยจะเป็นตัวนี้ คือ สายรัด มักเป็นตีนตุ๊กแก​เย็บด้วยหนัง หรือ สายหนังแบบมีรูล็อกแบบเข็มขัด  บางทีก็เรียกว่า Mulley straps สำหรับขาเทียมระดับใต้เข่า(ดังรูป)​ หรือ Tes belt สำหรับขาเทียมเหนือเข่า แบบต่อยอดขึ้นมาจากดีไซน์นี้จะเรียกว่า Thigh corset แต่ไม่เป็นที่นิยมนัก
       

2)พวกที่ได้รับความนิยมรองลงมา สังเกตว่าเริ่มแพร่หลายมากขึ้นในไทย คือ Knee sleeve ส่วนใหญ่วัสดุที่ใช้จะเป็นซิลิโคน  จุดเด่นคือผู้ใช้มักรู้สึกสบายกระชับกว่าแบบ สายรัด จุดอ่อนคือราคาสูงกว่า (ประมาณ 7,000 บาท) และไม่เหมาะกับผู้ใช้ที่มืออ่อนแรงหรือผิดรูปเพราะจะใส่ลำบากกว่าเเบบสายรัด ปกติ Knee sleeve จะมีอายุการใช้งานประมาณ 1 ปี 
3) เป็นแบบล็อกด้วยตัวเบ้า (self suspension) จากรูปจะสังเกตุว่าตัวขอบเบ้าล็อกอยู่เหนือกระดูกเข่า ทำให้ตัวขาเทียมล็อกกับตอขาคนไข้ เมื่อเดินก็ไม่เลื่อนหลุดลงถ้าทำออกมาดี ทั้งนี้ไม่เหมาะกับคนไข้ที่มีปัญหาตอขาบวมๆยุบ หรือมีรูปร่างที่ล็อกยาก 
ทั้งนี้ยังมี self suspension อีกแบบหนึ่งที่ทำได้โดยใช้อุปกรณ์ RevoFit ที่เคยกล่าวถึงในโพสก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ตอขาไหนจะเหมาะกับการใช้ Self suspension หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของนักกายอุปกรณ์เป็นรายๆไป 
4) เรียกว่า Silicone liner จากประสบการณ์ที่เคยทำขาเทียมมา ถ้าไม่ติดเรื่องราคาแล้ว suspension ประเภทนี้เป็นตัวเลือกที่ผู้ใช้ถูกใจที่สุด โดยเฉพาะชนิด pin lock liner ดังรูป ข้อดีคือใส่สบายไม่เทอะทะ ลดปัญหาเจ็บขณะเดินได้ดี เป็นมิตรต่อผิว ระคายเคืองน้อยกว่า คนไข้มักรู้สึกกระชับและมั่นใจในการเดินมากขึ้น ใส่ง่าย รวดเร็ว เหมาะกับคนไข้ที่มือทั้งสองใช้งานได้ดี จะสังเกตว่าปลาย liner มีเหล็กติดอยู่ เมื่อคนไข้สวมขาตัวเหล็กจะเข้าไปล็อกกับ Adapter ในขาเทียม 

บันทึก 02 เทคโนโลยีกายอุปกรณ์

  Part I:  sco brace ( พลาสติกดามลำตัว สำหรับผู้มีกระดูกสันหลังคดงอ )  ✍️เก็บแบบโดยใช้วิธีวัดขนาด+ภาพถ่าย+ xray ไม่ได้ใช้ 3D scanner  💻Brac...