วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

การดูแลตอขาหลังตัดขา

ด้วยสาเหตุที่หลากหลาย ทำให้คนไข้จำนวนหนึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยการตัดขาอย่างไม่มีทางเลือก ภายหลังการตัดขา โจทย์ต่อมาคือการฟื้นฟูสมรรถภาพของคนไข้ให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตและทำกิจกรรมต่างๆได้ใกล้เคียงปกติอีกครั้ง ซึ่งการฟื้นฟูสมรรถภาพนี้ไม่ใช่สิ่งที่จะสำเร็จได้เพียงชั่ววัน แต่ต้องอาศัยจากหลายๆฝ่ายของทีมสหวิชาชีพ ที่ขาดไม่ได้คือความร่วมมือของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง

กระบวนการคร่าวๆในการเริ่มเดินอีกครั้งหลังตัดขา (คนไข้แต่ละคนอาจใช้เวลาต่างกันในแต่ระกระบวนการ รวมถึงคิวการรักษาของแต่ละที่ด้วย ทั้งนี้ส่วนนี้เป็นการสรุปจากประสบการณ์การทำคลินิกของผู้เขียน) ดังนี้
                 -ช่วงพักฟื้นหลังผ่าตัด ระหว่างรอให้แผลหายดี
                 - รับประเมินความพร้อมในการหล่อแบบขาเทียมโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู 1-2 เดือนภายหลังการตัดขา โดยคุณหมอจะประเมินทั้งสุขภาพโดยรวมของคนไข้ โรคประจำตัว ความแข็งแรงของร่างกาย และประเมินตอขา
                  -ประเมินความพร้อมในการเดินโดยนักกายภาพบำบัด การออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูความแข็งแรงของตอขา ให้พร้อมสำหรับการเดินด้วยขาเทียม ทดลองเดินโดยถุงลมฝึกเดินสำหรับคนไข้ขาขาด
                  -ในไทยยังไม่มี podiatrist ในคลินิกที่มี ทางpodiatrist มักมาร่วมทีมด้วย
                  -นักกายอุปกรณ์ หลังร่วมปรึกษากับทีมแพทย์และนักกายภาพ จะได้ผลสรุปความพร้อมของคนไข้ว่าเหมาะที่จะหล่อแบบทำขาเทียมเลยหรือไม่ คนไข้มี fuctional level ระดับไหน
                    fuctional level จะทำให้รู้ว่าคนไข้รายนี้เหมาะกับ component แบบไหน เพราะ component แพงที่สุด ไม่ได้หมายความว่าดีที่สุดกับคนไข้คนนั้น
                  -เมื่อได้รับขาเทียมแล้ว คนไข้เข้าครอสฝึกเดินกับนักกายภาพบำบัด เพราะการเดินที่ดีไม่ใช่แค่ก้าวไปข้างหน้า แต่ต้องมั่นคง มีความสมดุล ดูเป็นธรรมชาติ มีการใช้ gait aid ที่เหมาะสมหากจำเป็น คนไข้ที่ไม่ได้รับการฝึกเดินกับขาเทียม มักจะเดินไม่สวย นานๆเข้าจะติดเป็นนิสัยและแก้ยากในภายหลัง

ส่วนที่เหลือจากการถูกตัดขา ไม่ว่าจะเป็นการตัดระดับเหนือเข่า หรือ การตัดระดับใต้เข่า ถูกเรียก "ตอขา" หรือ stump

เพราะตอขาคือส่วนที่จะนำไปสวมกับ ขาเทียม ดังนั้นความสำเร็จที่คนไข้จะใช้ขาเทียมเดินได้ เดินสวย เดินไม่เจ็บ หรือไม่นั้น การดูแลตอขาให้ดีมีส่วนอย่างมาก นอกเหนือจากเรื่องการดูแลแผลผ่าตัดให้หายแล้ว ข้อควรคำนึงถึงในการดูแลตอขา คือการป้องกันข้อติด และการพันตอขาเพื่อลดบวม ซึ่งทั้งสองข้อนี้มีคำแนะนำพร้อมภาพประกอบเผยแพร่มากมาย ค้นหาได้ตาม google ดังตัวอย่าง เพราะฉะนั้นโพสนี้จะนำเสนออะไรที่เป็น options ทางเลือกก็แล้วกัน

1. การป้องกันข้อติด
      เช่นในคนไข้ที่ถูกตัดขาระดับใต้เข่า คนไข้จะถูกแนะนำให้หลีกเลี่ยงการจัดท่าตอขาในท่า งอเข่า ดังรูปเพื่อป้องกันปัญหาข้อเข่าติดงอ หากข้อเข่ามีปัญหาข้อติด (ไม่สามารถเหยียดเข่าตรงได้) จะส่งผลต่อแนวการประกอบขาเทียม รวมถึงกำลังกล้ามเนื้อในการใช้เดินด้วยขาเทียม

ขอบคุณภาพจาก http://med.swu.ac.th/rehabilitation/images/lecture_60/7.1_Rehabilitation_in_amputee_and_orthosis.pdf
    Knee Gaitor ชนิดสั้น(หรือตัวดามอื่นที่ใกล้เคียงกันก็ใช้ได้  ส่วนใหญ่มีตามร้านขายยาใหญ่ๆทั่วไป ดูจะหาซื้อได้ไม่ยากนะคะ) เป็นอีกตัวเลือกหนึงที่นำมาช่วยจัดท่า ตอขา ของคนไข้ให้อยู่ในท่าเหยียด ป้องกันปัญหาข้อติด
Knee gaitor

ตัวนี้สามารถเริ่มใช้ได้ตั้งแต่ช่วงพักฟื้นในโรงพยาบาลหลังการตัดขา ตัวอุปกรณ์ถอด/ใส่ ได้สะดวก ไม่ต้องกังวลว่าคนไข้จะเผลอวางเข่าในท่างอ การพิจารณาว่าจะใส่ต่อเนื่องนานแค่ไหนอันนี้ ทางคุณหมอ หรือ นักกายภาพ หรือ นักกายุปกรณ์ จะประเมิณตามกำลังกล้ามเนื้อของคนไข้เป็นรายๆไป

2. การพันตอขาเพื่อลดบวม 
      การพันตอขาที่ดีจะช่วยให้ตอขายุบตัวดีขึ้น คือลดบวม และช่วยให้ได้รูปตอขาที่เหมาะสมสำหรับการใส่ขาเทียม รูปตอขาที่เหมาะสมคือ รูปตอขาที่สวมเข้าไปในเบ้าขาเทียมได้ง่าย เช่น แบบ conical shape แต่ถ้าตอขาที่ใส่ในเบ้ายากก็จะเป็น  bulbous shape เช่น ส่วนล่างใหญ่กว่าส่วนบน ดังรูป
  การพันตอขาจะใช้ผ้ายืด หรือ elastic bandage พันรอบต่อขาเป็น เลข 8 ดังรูป ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมโดยทั่วไป ราคาไม่แพง และได้ผลดี (หากพันตอขาได้ถูกต้อง)
อย่างไรก็ตามโดยส่วนตัวไม่ได้ชื่นชอบการพันตอขาเพื่อลดบวมนัก เพราะในทางปฏิบัติจริงค่อนข้างยุ่งยากกับคนไข้ที่จะพันได้ถูกต้องและต่อเนื่อง คนไข้หลายคนพันเองไม่ได้ ต้องมีผู้ช่วยพันให้ และหากพันไม่ถูกต้อง แรงกระจายไม่สม่ำเสมอ ก็อาจได้ผลลัพธ์ตรงกันข้าม คือแทนที่จะช่วยให้ตอขายุบตัวกลับกัก fluid ไว้ที่ตอขาแทน
ขอบคุณภาพจาก https://w1.med.cmu.ac.th/rehab/images/Study_guide/16%20stump.pdf
ถุงสวมตอขา หรือ Stump Shrinker sock เป็นอีกตัวเลือกนึงที่นำมาใช้แทนผ้าพันตอขาได้ดี เป็นถุงผ้ายืด มีแรงกระจายรัดตอขาสม่ำเสมอ สวมใส่ง่าย
ตัวอย่าง stump shrinker sock สำหรับตอขาระดับใต้เข่า

ตัวอย่าง stump shrinker sock สำหรับตอขาระดับเหนือเข่า
ตัวนี้สามารถเริ่มใช้ได้ตั้งแต่ช่วงพักฟื้นในโรงพยาบาลหลังการตัดขา (หลังผ่าน wound inspection) กรณีแผลผ่าตัดยังไม่ติดดีหรือยังไม่เอาแม็กซ์ออก (Metal staples) เพื่อไม่ให้รบกสนแผลผ่าตัด จะสวมถุงโดยใช้ Doning aid ค่ะ  พบว่ายิ่งเริ่มใส่เร็วยิ่งได้ผลดีในการยุบบวม และคุมรูปตอขา เหมือนกับการพันตอขาด้วยผ้ายืด ตัว Shrinker sock นี้มักแนะนำให้ใช้ยาวเป็นปีเลย แต่ระยะเวลาการสวมใส่ต่อวันจะลดลงถ้าได้ขาเทียมมาใช้แล้ว


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บันทึก 02 เทคโนโลยีกายอุปกรณ์

  Part I:  sco brace ( พลาสติกดามลำตัว สำหรับผู้มีกระดูกสันหลังคดงอ )  ✍️เก็บแบบโดยใช้วิธีวัดขนาด+ภาพถ่าย+ xray ไม่ได้ใช้ 3D scanner  💻Brac...