วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

หน้าที่ของเท้ากับรองเท้าสุขภาพ

หน้าที่ของเท้า
เท้าเป็นอวัยวะที่มหัศจรรย์มาก ก่อนหน้าที่กี้ได้เขียนเรื่องเท้าไปบ้างแล้ว บทความก่อนหน้าจะเป็นอธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างของเท้า และพยาธิสภาพของเท้าที่พบได้บ่อย
           วันนี้เรามาดูกันว่าในแต่ละวันเราใช้เท้าทำอะไรบ้าง ในก้าวเดินแต่ละก้าว เท้ามีบทบาทอะไรให้เราได้ศึกษา จุดประสงค์หลักของเท้ามี 2 อย่าง คือ รองรับน้ำหนัก และ ก้าวเดินทั้งสองจุดประสงค์นี้ เกิดจากบทบาท  5 อย่างคือ
-                   Shock Absorber การซึบซับแรงกระแทก
กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นเป็นตัวหลักในการดูดซับแรงกระแทกเมื่อแรกย่างเท้า ( heel strike) ต่อจากนั้นด้วยการยืดของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นช่วยให้เกิดพลังงานสะสมที่จะผลักเท้าก้าวไป  คล้ายกับการที่เรากดสปริงแล้วมันเด้งขึ้น แบบนี้มันก็ดีที่จะช่วยประหยัดพลังงานในการเดินให้เราได้เบาๆ อย่างที่เคยกล่าวไว้ ในแต่ละก้าวของคนเรา เท้าจะต้องรองรับน้ำหนักถึง 120% ของน้ำหนักตัวเชียวนะคะ






-                   Rigid Lever Arm คานก้าว
ในจังหวะเดินที่เท้าข้างนึงแตะพื้น ดูรูปด้านบนนะคะ จาก heel strike ไป toe-off  เห็นใช่มั๊ยคะว่า จังหวะ toe-off  เป็นช่วงสุดท้ายก่อนที่เท้าจะพ้นพื้น ซึ่งช่วง toe-off นั่นแหล่ะคะเท้าจะแข็งเป็น คานก้าวจะเป็นการส่งต่อแรงจากกล้ามเนื้อน่องให้ปลายเท้าจิกพื้น ผลักเท้าให้ก้าวไปข้างหน้า
-                   Loose Adapter to Adjust to the Ground ปรับตัวเข้ากับพื้นผิว
จากด้านบนนอกจากเท้าจะแข็งตัวได้ เพื่อให้เราก้าวไปข้างหน้าได้ เท้ายังสามารถปรับตัวให้มีความยืดหยุ่นไปกับพื้นผิวที่เราเหยียบ ไม่ว่าจะราบเรียบหรือขรุขระ เพราะหนทางไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเสมอไป ชิมิ







-                   Torque Absorber การรองรับแรงบิดกระแทก

จุดนี้อาจจะงงๆและเข้าใจยากหน่อย คิดง่ายๆว่าถ้าเรามองคนที่กำลังเดินตรงเข้ามาหาเรานะคะ จินตนาการดูคะ ตามใจชอบเลย เค้ากำลังเดินตรงมาหา และขาเค้าก็ก้าวมาหาเราตรงๆใช่มั๊ยคะ
นั่นแหล่ะ แม้เราจะเห็นว่าท่อนขาเค้าก้าวมาหาเราตรงๆ แต่ในการเดินนั้นหากเรามองทะลุไปถึงท่อนกระดูกขาแต่ละส่วนแล้ว จะพบว่ามันไม่ได้เคลื่อนมาเป็นเส้นตรงซะทีเดียว แต่มันมีการบิดหมุน ของกระดูกแต่ละส่วนด้วยเล็กน้อย หากเท้าไม่รับแรงกระแทกส่วนนี้ไว้ แรงงจะถูกส่งต่อไปรบกวนข้ออื่นๆเหนือขึ้นไป




-                   Base of Support to Maintain Balance รองรับน้ำหนักเพื่อความสมดุล
อันนี้ก็คือการที่เท้าเป็นฐานให้เรายีนเดิน ได้โดยไม่ล้มคะ อย่างรูปคนยืน 4 แบบด้านล่างนะคะ ส่วนที่แรเงาคือปริมาณ base of support ของการยืนท่าต่างๆ ถ้ายืนขาเดียวก็มีน้อย จะมั่นคงน้อย ล้มได้ง่ายกว่า ประเภทที่มีพื้นที่แรเงาเยอะๆ ดังนั้นคนแก่ เดินไม่ค่อยไหวเลยต้องใช้ไม้เท้าช่วยเดินเพื่อเพิ่ม base of support ตามหลัก biomechanics ไงคะ









รองเท้าส้นสูง

       
ทีนี้เรามาว่ากันเรื่องของรองเท้าส้นสูง หลังจากที่สาวๆเข้าใจถึงหน้าที่และความสามารถที่มักถูกมองผ่านของเท้าเราไปแล้ว ไม่แปลกหรอกคะที่สาวๆจะชอบใส่รองเท้าส้นสูง เพราะใส่แล้วเราจะรู้สึกมั่นใจ มันช่วยส่งให้เราเดินได้สง่าขึ้น  จากรูปด้านบนอธิบายว่าส้นสูงโดยเฉพาะส้นเข็ม มี base of support น้อยมาก ใส่ไปก็เสี่ยงที่จะล้มง่าย ที่สำคัญอีกอย่างคือการกระจายตัวของน้ำหนัก ตามรูปขวา เป็นการกระจายน้ำหนักของเท้าเมื่อยืนปกติ สีแดงคือส่วนที่รับน้ำหนักเยอะสุด อย่าลืม นะคะว่าแค่นี้เท้าก็รับน้ำหนักถึง 120 % ของน้ำหนักตัวแล้ว แล้วการที่เราใส่รองเท้าส้นสูง น้ำหนักจะกระจายไปที่ไหนบ้าง?
แน่นอนว่าเป็นเท้าส่วนหน้าที่จะแบกรับภาระนั้นไว้ จึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่าทำไมใส่รองเท้าส้นสูงแล้วเท้า มี ตาปลา ปวดเท้า ยิ่งใส่บ่อยๆโดยเฉพาะรองเท้าหัวแคบ ก็อาจมีปัญหากับเส้นประสาทระหว่างนิ้วเท้าให้เจ็บจี๊ดเล่น นี้ยังไม่รวมปัญหาปวดน่องปวดเข่าตามมา
 ข้อแนะนำเพื่อสุขภาพเท้า
-                   เรื่องน้ำหนักคะ รู้จักควบคุมน้ำหนักบ้างเท้าเราจะได้รับภาระน้อยลง นึกถึง 120% ของน้ำหนักตัวเข้าไว้คะ เท้าก็สบาย หุ่นก็สวย คุ้มนะคะ
-                   ออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อบ้าง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อน่อง
-                   เรื่อง Shock Absorber การซึบซับแรงกระแทก คือรู้จักเรื่องรองเท้าที่มันช่วยซับแรงกระแทกบ้าง ที่ส้น โดยเลือกรองเท้าที่เป็นพื้นยาง(มันยืดหยุ่น) ถ้าแข็งมันก็เหมือนเราไปกระแทก ตึง ตึง ตึง ตลอด
-                   แผ่นรองในรองเท้าควรนุ่มพอประมาณ ไม่เอาแบบแข็งเป็นไม้หรือนุ่มเป็นสำลี
-                   รองเท้าหัวบีบ มีโอกาสที่นิ้วเท้าจะเกย หรือเส้นประสาทนิ้วเท้าเจ็บได้ง่าย
-                   เลือกรองเท้าที่ปลายเชิดขึ้น มันจะช่วยผ่อนแรงตอน toe-off ได้ 
-                   เลือกรองเท้าที่มีสายรัดข้อเท้า นอกจากทำให้กระชับกับเท้ามากขึ้น ยังมีแรงกระทำกับเท้าน้อยกว่ารองเท้าไม่มีสายรัด
-                   การติด pad เฉพาะจุดในรองเท้าส้นสูงจะช่วยกระจายการรับน้ำหนักของเท้าได้ดี คือที่จริงตัวกระจายน้ำหนักบนฝ่าเท้าในรองเท้าจะเป็น insole(แผ่นรองฝ่าเท้า) แต่ในรองเท้าส้นสูงไม่สามารถใส่ได้มันแคบเกินไป จึงแนะนำเป็น pad เฉพาะจุดนะคะ อย่างตรงอุ้งเท้า เป็นต้น

 ความจริงเเล้วรองเท้าเพื่อสุขภาพก็เป็นอีกทางเลือกนึงที่น่าสนใจ ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีรูปแบบที่แสนเชยเสมอไป การใส่รองเท้าที่สบายยังช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการทำกิจกรรมต่างๆอีกด้วย
custom made shoe รองเท้าสุขภาพ+ แผ่นรองฝ่าเท้าตัดจำเพาะ(insole)
ดูข้อมูลเพิ่มเติม แผ่นรองฝ่าเท้าตัดจำเพาะ ได้ที่ http://artitayacenter.blogspot.com/2013/09/blog-post.html

ตย รองเท้าสุขภาพ แบบ custom made shoe




กายอุปกรณ์แบบหล่อจำเพาะVS กายอุปกรณ์แบบสำเร็จรูป

ชนิดกายอุปกรณ์ ตามการผลิต
กายอุปกรณ์แบบหล่อจำเพาะVS กายอุปกรณ์แบบสำเร็จรูป
กายอุปกรณ์แบบหล่อจำเพาะ (Custom made orthoses)
กายอุปกรณ์ประเภทนี้จะทำโดยcopyขนาด จากคนไข้แต่ละคนเป็นรายๆไป โดยนักกายอุปกรณ์จะcopy(หล่อเฝือก/วาดลอกแบบ) จากนั้นนำตัวcopyที่ได้ไปสร้างหุ่นทำอุปกรณ์
จุดดี
-                   มีขนาดตามสัดส่วนจริงของคนไข้แต่ละคน
-                   เหมาะกับผู้ที่ต้องใช้กายอุปกรณ์ทุกคน
-                   สามารถปรับแต่งดีไซน์ได้หลายหลายตามแต่ความเหมาะสมในพยาธิสภาพของคนไข้แต่ละคน
จุดด้อย
-                   ใช้เวลานานในการผลิตชิ้นงานแต่ละชิ้น
-                   มักมีราคาสูง






                                                                                                                                                          
กายอุปกรณ์แบบสำเร็จรูป (prefabricate orthoses)
กายอุปกรณ์ประเภทนี้จะเป็นอุปกรณ์ที่ทำเสร็จแล้วมีวางขายตามท้องตลาด โดยจะแบ่งขนาดเป็น S M L XL เป็นต้น
จุดดี
-สะดวก รวดเร็ว ผู้ป่วยสามารถรับอุปกรณ์กลับบ้านได้ทันที
- ราคาไม่แพงเมื่อเทียบกับอุปกรณ์ประเภทหล่อจำเพาะ
- ช่วยแบ่งเบากำลังงานการผลิตกายอุปกรณ์
- ใช้ได้ง่ายและสะดวกในกลุ่มคนไข้ที่ยังมีปัญหาไม่มาก
จุดด้อย
-                   มีรูปแบบให้เลือกไม่มาก เหมาะกับผู้ป่วยเพียงบางส่วน
-                   สามารถปรับแต่งได้น้อยมาก ไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่มีความผิดรูปแบบจำเพาะ
-                   อาจพบปัญหาใส่อุปกรณ์ไม่พอดี ไม่รับกับสัดส่วนร่างกายเท่าที่ควร






                                                                                                                                                                          

การพิจารณาจำหน่ายอุปกรณ์ให้ผู้ป่วยจึงต้องพิจารณาไปตามความจำเป็นของแต่ละบุคคลคะ กรณีผู้ป่วยใช้แบบสำเร็จรูปได้ ก็จ่ายแบบสำเร็จรูปไป ผู้ป่วยก็จะได้รับของกลับบ้านไปใช้ได้เลย ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายไปได้เยอะ แต่หากต้องใช้แบบหล่อจำเพาะก็จะรอรับอุปกรณ์นานกว่า มักต้องมาทำอุปกรณ์ถึง 3 ครั้ง มีคาใช้จ่ายที่สูงกว่า ประมานนี้คะ


บันทึก 02 เทคโนโลยีกายอุปกรณ์

  Part I:  sco brace ( พลาสติกดามลำตัว สำหรับผู้มีกระดูกสันหลังคดงอ )  ✍️เก็บแบบโดยใช้วิธีวัดขนาด+ภาพถ่าย+ xray ไม่ได้ใช้ 3D scanner  💻Brac...