วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2556

ขั้นตอนการทำ เบรสดามขาชนิดสั้น Ankle Foot Orthosis (plastic type)

ขั้นตอนการทำ เบรสดามขาชนิดสั้น Ankle Foot Orthosis (plastic type)

             บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อให้ผู้อ่านที่สนใจเกี่ยวกับงานด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูด้านนี้หรือผู้ที่ต้องการศึกษาด้านนี้เพิ่มเติม ได้เห็นแง่มุมของงานกายอุปกรณ์ที่ชัดเจนมากขึ้น มิได้สำหรับผู้ที่ไม่ได้เรียนด้านกายอุปกรณ์มาก่อนแล้วนำไปใช้ทำอุปกรณ์เอง เพราะงานด้านกายอุปกรณ์เป็นงานที่ใช้ความรู้หลายด้าน ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ความรู้ทั่วไป วิทยาการการแพทย์ และความรู้ทางกายอุปกรณ์  เป็นวิชาชีพที่ต้องได้รับการศึกษาโดยจำเพาะ มีใบประกอบโรคศิลปะ จึงจะสามารถทำอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพออกมาได้จริง นอกจากศึกษาตามความรู้ที่มีอยู่เดิมแล้ว ยังต้องรู้จักคิดต่อยอดความรู้เดิมและรู้จักนำมาใช้ให้เหมาะสม

                 นอกเรื่องอีกอย่างนึงคือเกณฑ์การแบ้งผู้ผลิตกายอุปกรณ์ เรียกว่า category ซึ่งกายอุปกรณ์จะแบ่งเป็น
category I หมายถึงนักกายอุปกรณ์ซึ่งจบสาขานี้มาในระดับปริญญา แล้วก็จะมีโอกาสเข้าสอบ ISPO เป็นการสอบให้ผ่านมาตรฐานสากลของงานกายอุปกรณ์ category I ที่สอบผ่าน ISPO ก็เหมือนเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับจะไปทำงานด้านนี้ที่ต่างประเทศก็ได้ แต่ถ้าสอบไม่ผ่านก็ประมาณว่าเป็นนักกายอุปกรณ์ได้แต่ในประเทศไทย ปัจจุบันมีที่เรียนหลักสูตรนี้ในประเทศไทยเพียงที่เดียวคือ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตรศิริราช สาขากายอุปกรณ์ 

category II คือคนที่จบอนุปริญญาด้านกายอุปกรณ์ อันนี้ตอนนี้ไม่เห็นมีเปิดหลักสูตรในไทยนะค่ะ เมื่อก่อนอาจเคยมีไม่แน่ใจ (ประเภทนี้บางประเทศก็มีสิทธิรักษาคนไข้ได้ บางประเทศก็ไม่อนุญาตโดยต้องรักษาคนไข้ภายใต้การดูแลของcategory I )

category III คือผู้ที่ผ่านการอบรมงานด้านกายอุปกรณ์ ไม่มีสิทธิรักษาคนไข้แต่จะเป็นผู้ช่วยให้นักกายอุปกรณ์ค่ะ
            

                ทั้งนี้กายอุปกรณ์ที่พิจารณาให้คนไข้นั้นจะพิจารณาสำหรับบุคคลเป็นรายๆไป แม้ในใบสั่งจะใช้อุปกรณ์ชื่อเหมือนกัน เช่น เบรสดามขาชนิดสั้น แต่ก็สามารถทำออกมาได้ผลที่แตกต่างกัน (เคยเจอกรณีที่ คนไข้มีอุปกรณ์เดิมเป็นเบรสดามขาชนิดสั้นแบบไม่มีข้อ อุปกรณ์ตัวใหม่เราก็ทำชนิดเดิมให้เค้า แต่เพิ่มความแข็งแรงของจุดรับเเรงกระแทกตรงข้อเท้ามากขึ้น ปรากฎว่าคนไข้ใส่แล้วเดินได้สวยขึ้นมากอย่างเห็นได้ชัด)  

มาดูขั้นตอนการทำกันเลยค่ะ
  1. การหล่อแบบ casting and measurement
         การหล่อแบบ AFO มักทำในท่านั่ง ให้คนไข้นั่งบนเก้าอี้ งอเข่า 90 องศา พันขาด้วย M wrap แล้ววาดปุ่มกระดูกต่างๆด้วยปากกาเมจิก จากนั้นใช้สายวัดตัวและ M-L diameter วัดความยาวและเส้นรอบวงของขาเสร็จแล้วใช้สายยางขนาดเล็กพาดไว้ที่ขาสำหรับรองขณะตัดเฝือกปูน 
         ต่อไปคือนำเฝือกปูนจุ่มน้ำแล้วพันให้รอบขา ก่อนที่ปูนจะแห้ง ต้องจัดท่าของเท้าให้เรียบร้อย (neutral position) เมื่อปูนเซ็ทตัวดีแล้วให้ใช้คัทเตอร์กรีดตามรอยสายยางเพื่อดึงเฝือกปูนออก
ก็จะได้เฝือกปูนหรือ negative cast ดังรูปด้านล่างค่ะ ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง
ซ้ายมือคือ negative cast ของเบรสดามขาชนิดยาว ขวาคือเบรสดามขาชนิดสั้น
    หลังจากได้ negative cast มาแล้ว ก็ปิดรอยตัดให้สนิทกับเฝือกปูน แต่ถ้าข้อเท้ายังไม่ได้รูปตามต้องการก็จัดแต่งได้เล็กน้อยในขั้นตอนนี้ จากนั้นล้างเฝือกปูนด้านในด้วยน้ำสบู่ แล้วเทปูนพลาสเตอร์ลงไป ดังรูปล่างนี้
เพิ่มคำอธิบายภาพ
หลังจากเทปูนลงใน cast และฝังลงถังทรายแล้ว รอประมาณ 20 นาทีให้ปูนแห้งจึงเริ่มขั้นตอนต่อไป

   2. การแต่งหุ่นปูน modification
เมื่อปูนที่เทไว้แแห้งดีแล้ว ก็แกะเฝือกปูนทิ้งไปเราก็จะได้ หุ่นปูน หรือ positive cast แล้วก็นำหุ่นปูนตัวนี้มา แต่งให้ได้รูปขาสำหรับขึ้นรูปพลาสติก ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นอยูjกับความยากง่ายของดีไซน์อุปกรณ์ ขนาด และความสมบูรณ์ของ negative cast คือถ้าหล่อแบบมาดีแต่แรกก็ไม่ต้องแต่งหุ่นปูนมากนัก เสร็จเรีบยร้อยก็ทิ้งไว้ให้แห้ง ดังรูปข้างล่าง
      
ขณะกำลังแต่งปูน ^.^



3. การขึ้นรูปพลาสติก
           นำหุ่นปูนที่แต่งเสร็จและแห้งดีแล้วมาเสียบไว้ที่ท่อดูดอากาศ สวมถุงน่องสองชั้น เพื่อให้อากาศดูดได้ทั่งถึง แล้วเตรียมแผ่นพลาสติก (polypropylene) ขนาดพอคลุมหุ่นปูน นำไปอบในตู้อบ ประมาณ 180 องศาเซลเซียส เมื่อพลาสติกสุกดีแล้ว(สีจะใส จากเดิมที่ขาวขุ่น) ก็นำขึ้นมาคลุมหุ่นปูน แล้วเปิดวาล์ว ดูดอากาศให้พลาสติกแนบไปกับหุ่นปูน เป้นอันเรีบยร้อยในขั้นตอนนี้ ที่ต้องระวังในขั้นตอนนี้คือ คลุมพลาสติกให้สนิท ถ้ามีช่องว่างลมจะไม่ดูด, ระวังพลาสติกและตู้อบ เพราะมันร้อนมาก, อย่าลืมทาแป้งบนถุงน่องก่อนคลุมพลาสติก , ขณะคลุมต้องระวังไม่ให้พลาสติกย่นหรือเป็นรอย , และต้องทำอย่างรวดเร็วก่อนพลาสติกจะเซ็ตตัว
ภาพขณะขึ้นรูปพลาสติก สัมนาที่ SSPO ปี 2012
    4. เตรียมลองอุปกรณ์ 
ต่อไปเมื่อขึ้นรูปพลาสติกแล้วก็ทิ้งไว้ให้หายร้อน ที่จริงควรทิ้งไว้ซัก 1 วัน เพราะถ้ารีบแกะออกพลาสติกมักจะขยายออก แล้วก็วาดขอบเขตของอุปกรณ์ (Trimline) ว่าจะใช้ส่วนไหนบ้าง แล้วก็ตัดออกมา ถ้าเป็น polypropylene จะใช้ cast cutter ตัด แต่ถ้าเป็น polyethylene ใช้คัตเตอร์กรีดเอาก็ได้

ตัดออกมาแล้วจะเห็นว่าขอบพลาสติกมันขรุขระมาก เราก็จะนำมันไปขัดให้เรียบเนียนก่อนกับ router  machine 

ขัดเสร็จแล้วก็จะได้เบรสเนียนเรียบสวยอย่างด้านบน เท่านี้ก็พร้อมสำหรับไปลองใส่กับคนไข้แล้วค่ะ 

หลังจากลองใส่ให้คนไข้เสร็จแล้ว ก็จะมีการตัดแต่งและติดสายรัดให้เรียบร้อย จากนั้นจะประเมิณคนไข้กับอุปกรณ์สอนเนะนำการใช้ ถ้าไม่มีปัญหาอะไรก็เรียบร้อย กลับบ้านได้ :D แล้วจึงนัดติดตามผลเป็นระยะๆ


เสร็จเรียร้อย ^.^

วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2556

De Quervain's tenosynovitis


De Quervain's tenosynovitis


Definition
   De Quervain's tenosynovitis is inflammation of tendons on the side of the wrist at the base of the thumb. These tendons include the extensor pollicis brevis and the abductor pollicis longus tendons.
 Review anatomy















Cause
  •  Idiopathic



  • Excessive repetitive movement
-      Grasping, pinching, squeezing, or wringing may lead to the inflammation of tenosynovitis

  • Other causes include:
    :Direct injury to your wrist or tendon; scar tissue can restrict movement of the tendons
    :RA
Sign and symptom
  • pain, tenderness, and swelling over the thumb side of the wrist, and difficulty gripping.

If the condition goes too long without treatment, the pain may spread farther into the thumb and forearm. Pinching, grasping and other movements of the thumb and wrist aggravate the pain

 Investigate
  • The Finkelstein test 

 flexion of the thumb across the palm and then ulnar deviation of the wrist) causes sharp pain at the first dorsal compartment


Treatment
  •  Non-medical

   -Immobilizing the thumb and wrist, keeping them straight with a splint or brace to help rest the tendons
     : thumb-spica splint
     :Radial forearm based static Wrist-Thumb Orthosis
  •          Anti-inflammatory medications
  •     Cortisone injection
  •           Surgery is only rarely necessary and usually reserved for persisting inflammation after failure of at least one cortisone injection.




วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556

ไปตัดรองเท้าคนพิการ

ปัญหาการเดินในเด็ก
กรณีแรก เด็กเดินเขย่ง ซึ่งก็มีสาเหตุหลายอย่าง ทั้งจากนิสัยของเด็กเอง จากเส้นเอ็นของส้นเท้าหดสั้นมาแต่กำเนิด หรือผลจากความพิการทางสมอง
               เคยพบความเข้าใจผิดของหลายคนว่าทุกกรณีของการเดินเขย่งให้แก้ด้วยรองเท้าคนพิการ บ้างก็ว่ามันหนัก บ้างก็ว่าเพราะตรงที่หุ้มข้อเท้ามันเเข็ง ซึ่งข้อมูลนี้ยังไม่ถูกต้อง
               ถ้าเป็นจากนิสัยของเด็กเอง เราสามารถดูพัฒนาการของเค้าไปได้เรื่อยๆไม่ต้องกังวล สัก 2 ขวบเค้าจะหายได้เอง  
                ถ้าเป็นจากเส้นเอ็นของส้นเท้าหดสั้นอันนี้สามารถปรึกษาหมอกระดูกได้ค่ะ ว่าจำเป็นต้องผ่าตัดหรือไม่อย่างไร และเหมาะสำหรับการสั่งตัดรองเท้าคนพิการได้ เพราะกรณีนี้รองเท้าคนพิการจะช่วยเสริมตรงส้นขึ้นรองการเดินด้วยเท้าที่ติดเขย่ง ให้มีการกระจายน้ำหนักไปทั่วส่วนของเท้า หากไม่มีการเสริมความสูงตรงส้นน้ำหนักจะลงเฉพาะที่ปลายเท้า แต่อย่าเข้าใจผิดว่าตัวรองเท้ามันช่วยดัดให้เท้าที่เขย่งกลับมาตรงเป็นปกติ มันแค่เสริมตรงส้น ไม่มีการดัดแก้อะไรทั้งสิ้น ความพิการยังคงมีอยู่ เรียกว่ารองเท้าเพียง accomodation ไม่ใช่ correction 
ตย รองเท้าคนพิการ
                ถ้าเป็นผลจากความพิการทางสมอง (cerebral palsy) หรือ CPกรณีที่ต้องการเสริมส้นให้เด็กเดินดูเต็มพื้นก็ใช้รองเท้าคนพิการได้ แต่กรณีปกติแล้วนักกายอุปกรณ์จะใช้อุปกรณ์ดามขา เรียกว่า ankle foot orthoses หรือ AFO มักเป็นพลาสติกดามขา เพราะมันจะช่วยดัดแก้เท้าที่ผิดรูปนั้นให้กลับมาตรงในท่าปกติและป้องกันการผิดรูปของเท้า ในตลอดเวลาที่ใส่อุปกรณ์ เนื่องจากใน  CP คนไข้จะมีระบบของกล้ามเนื้อที่ไม่สมดุล ถ้าปล่อยให้มีการเกร็ง ผิดรูปมากขึ้นเรื่อยๆก็จะกลายเป็นข้อติดหรือเท้าที่ผิดรูปถาวรไปได้ หรือจะใช้ดามหลังผ่าตัดเพื่อป้องกันการกลับมาผิดรูปซ้ำ การใส่ AFO แนะนำให้ใส่ตั่งแต่คนไข้อายุยังน้อยแต่มีแนวโน้มที่จะเกิดเท้าผิดรูปจากกล้ามเนื้อที่ไม่สมดุล เกร็ง การใส่แต่เนิ่นๆจะให้ผลที่ดีกว่าในการป้องกันการผิดรูป พบว่าคนไข้ที่เพิ่งมาได้รับอุปกรณ์เมื่อเป็นเด็กโตแล้วเท้ามีความผิดรูปแบบค่อนข้างติดแข็งบางส่วนแล้ว การได้อุปกรณ์จะช่วยเพียงป้องกันไม่ให้บิดผิดรูปมากขึ้นเท่านั้นมักไม่สามารถดัดแก้ได้ทั้งหมด

ตย AFO
      
กรณีต่อมาคือในคนไข้ที่ เท้าแบน เท้าบิดออกนอก สามารถพบได้ตั้งแต่เท้าแบนปกติในเด็กไปจนเท้าแบะผิดรูป ทั้งนี้เท้าแบนพบได้ทั่วไปในเด็กเล็กค่ะ แล้วเค้าจะหายได้เองเมื่อโตขึ้น นอกจากจะเป็นพันธุกรรมที่พ่อหรือแม่มีเท้าแบนอย่างนี้ก็จะเป็นไปจนโต มีทั้งแบบ เท้าแบนเมื่อยืนหรือลงน้ำหนักหรือเท้ามีลักษณะแบนแม้ไม่ได้ลงน้ำหนัก กรณีเท้าแบนจะช่วยด้วย insole ในรองเท้าค่ะ
อ่านเรื่องเท้าแบนและเท้าอื่นได้ที่ http://artitayacenter.blogspot.com/2013/04/blog-post_8.html

เท้าซ้ายแบะออกนอก (valgus)

ตามรูปนะค่ะเท้าแบะออกนอกเมื่อยืนลงน้ำหนัก ถ้าไม่หนักมากอาจดัดให้ตรงได้โดยใช้รองเท้าคนพิการค่ะ โดยการเสริม wedgeใต้แผ่นรองรองเท้า ถ้ายังไม่ได้ผลก็ดามด้วย orthoses แบบพลาสติก
ลักษณะการดัดเท้าผิดรูปโดยใช้ wedge ในรองเท้า
มีความเข้าใจผิดที่ว่าเท้าผิดรูปใช้รองเท้าธรรมดาหุ้มส้นที่ขอบเเข็งก็ช่วยดัด/ประคองได้บ้าง ที่จริงคือช่วยไม่ได้เลยนะ ไม่ได้ทำหน้าที่อะไรนอกจากเป็นรองเท้าปกติเลย
  รองเท้าคนพิการเป็นรองเท้าตัดเฉพาะบุคคล หรือเรียกว่า custom made shoe นอกจากจะใช้ในผู้มีปัญหาเท้าผิดรูปแล้ว กรณีที่เท้าขาดไปบางส่วนหรือเท้าที่มีแผลเรื้อรัง เช่นในผู้ป่วยเบาหวาน ก็เหมาะสมที่จะใช้เช่นกัน โดยหลักการจะออกแบบให้มีการลงน้ำหนักที่หลีกเลี่ยงจุดบอบบางบาดเจ็บง่าย มีการทำ rocker sole ช่วยผ่อนแรงในการเดิน ทำให้เดินได้คล่องและมั่นคง



ขาเทียมในเด็ก

การพิจารณาให้กายอุปกรณ์เทียมในเด็กมีหลักเกณฑ์พิจารณาที่แตกต่างกันตั่งแต่ระดับทารกแรกเกิด จนโตเป็นผู้ใหญ่  อายุการใช้งานของขาเทียมในเด็กจะมีตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 2 ปี ขึ้นอยู่กับตัวอุปกรณ์ว่าสามารถปรับให้โตตามเด็กได้แค่ไหน ในเด็กมักจะนัดพบนักกายอุปกรณ์เพื่อตรวจสอบขาเทียมในทุก 4 เดือน เพราะเค้าจะโตไวมาก ไปจนเริ่มเข้าวัยผู้ใหญ่

เมื่อไหร่ถึงเหมาะสมที่เด็กจะได้รับขาเทียม?
กายอุปกรณ์เทียมสามารถพิจารณาให้เเก่เด็กได้ตั้งแต่เป็นทารก โดยมีวัตถุประสงค์ ในเรื่องของภาพลักษณ์ และการใช้งาน (functional mobility) อย่างไรก็ตามยังมีตัวเลือกให้ไม่มากนักสำหรับอุปกรณ์ที่จะใส่ให้ทารก


กายอุปกรณ์เทียมสำหรับขาเทียมระดับเหนือเข่าในเด็ก
การจะเลือกว่าจะให้เป็นขาเทียมแกนนอกหรือแกนในจะขึ้นอยู้กับความเหมาะสมกับเด็กแต่ละรายไป และความเห็นด้วยของผู้ปกครอง ในเด็กทารกเหมาะกับขาเทียมแบบแกนในที่ใช้ท่อแกนแบบพลาสติกเพราะน้ำหนักเบาและสวยงาม

ในบางกรณีผู้ปกครองเลือกที่จะให้เด็กใช้ขาเทียมแกนนอกมากกว่าแกนใน เพราะเหตุผลในเรื่องของความคงทน ที่แบบแกนในจะถูกหุ้มด้วยโฟมแต่งขา ซึ่งพังและสกปรกได้ง่าย แต่ผู้ปกครองบางคนอาจเลือกที่จะใช้แบบแกนในโดยไม่ต้องหุ้มกับโฟมแต่งขา เพราะเเบบแกนในสวยและน้ำหนักเบากว่า ซึ่งแกนในไม่หุ้มโฟมยังเหมาะสำหรับเด็กที่ยังดูแลการขับถ่ายเองไม่ได้ นอกจากนี้บางส่วนของขาเทียมแบบแกนในอันเดิมยังสามารถถอดมาใช้ในขาเทียมอันใหม่เมื่อเด็กโตขึ้นได้ หรืออาจใช้ shank แบบที่ปรับความยาวได้เมื่อเด็กโตขึ้นก็ได้ ซึ่งขาเทียมเเบบแกนนอกจะรีไซเคิลไม่ได้

ข่อเข้าของขาเทียม  มักจะเริ่มใช้ในคนไข้เด็กที่ฝึกทรงตัวได้เเล้ว หรือหากจะให้ก่อนหน้านั้นก็จะใช้แบบข้อเข้าที่ปลดล็อคได้ เพื่อให้เด็กนั่งงอเข้าได้ อย่างไรก็ตามการมีการศึกษาพบว่ายิ่งให้ข้อเข่าในขาเทียมเด็กตั่งแต่ช่วงฝึกเดินแรกๆ จะช่วยลดโอกาสการเดินผิดปกติ (gait deviation) ลงได้มาก
ตย ขาเทียมแบบมีข้อเข่า

ตย ขาเทียมใต้เข่าแบบแกนใน

ตย ขาเทียมระดับใต้เข่าแบบแกนนอก


กายอุปกรณ์เทียมสำหรับขาเทียมใต้เข่าในเด็ก
ขาเทียมที่สวมสะบายใช้งานได้ดีขึ้นอยู่กับเบ้าที่ดีเป็นสำคัญค่ะ และตัวยึดที่จะยึดเบ้าไว้กับตอขาในขาขาดรัดับใต้เข่าในเด็กมักจะใช้ supracondylar cuff suspension เป็นสายรัดเหนือหัวเข่าค่ะ อีdตัวนึงจะเป็น Sleeve suspension ตัวนี้ใส่สบายกว่าแต่ไม่เหมาะกับเด็กที่ซนมากๆ



บล็อกอธิบายขาเทียมแกนนอกแกนในต่างกันอย่างไร

http://artitayacenter.blogspot.com/2013/02/d.html

PFFD เมื่อเด็กมีขาไม่ครบส่วน

PFFD ย่อมาจาก Proximal Femoral Focal Deficiency เป็นชนิดนึงของความพิการแบบ Longitudinal deficiency ลักษณะบ่งชี้คือ ในข้างที่ผิดปกติ กระดูก femur หรือส่วนต้นขา จะสั้น, ต้นขาอยู่ในท่างอ กางและหมุนออก ซึ่งการแก้ไขรักษาก็มีอยู่หลายทางเลือก ขึ้นอยู่กับความยาวของส่วนกระดูกต้นขาที่มี
ลักษณะความพิการแบบ PFFD
 การทำขาเทียมให้คนไข้ในลักษณะนี้ค่อนข้างซับซ้อนกว่าขาเทียมทั่วไปค่ะ ปกติจะทำเบ้าขาเทียมแบบ quadrilateral socket คือให้คนไข้ลงน้ำหนักส่วนใหญ่ที่กระดูกก้นค่ะ (ischial tuburosity) เบ้าก็เป็นแบบฝาเปิด เพราะติดที่เท้าจึงไม่สามารถทำแบบครอบสวมได้อย่างกรณ์ทั่วไป ส่วนที่เป็นเข่าก็ต้องอยู่ต่ำกว่าข้างปกติ เพราะติดที่เท้ายาวเลยลงมา สามารถดูรายละเอียดส่วนประกอบของขาเทียมได้ตามลิงค์นี้ค่ะ
http://artitayacenter.blogspot.com/2013/02/d.html


วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2556

ความพิการในเด็กที่ไม่มีแขน ขา

    สาเหตุของความพิการแขน ขา ด้วนในเด็กไม่เกิน 10 ขวบนั้น 60% มาจากความพิการแต่กำเนิด

ความพิการแต่กำเนิด  หมายรวมถึงการขาดหายไปของแขนหรือขาตั้งแต่หนึ่งส่วนหรือมากกว่านั้น การผิดรูปของแขนหรือขา หรือการขาดหายไปของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ
ได้มีการแบ่งประเภทความพิการแขน ขา ด้วนแต่กำเนิดไว้เป็น 2ประเภท
1. Transverse คือลักษณะที่แขนหรือขาหายไปทั้งส่วน เช่นมีความพิการตั้งแต่ระดับข้อเท้า ก็หายไปตั้งแต่ระดับข้อเท้า ชนิดนี้มักไม่จะเป็นต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไขเพิ่มเติม สามารถพิจารณาใช้กายอุปกรณ์เทียมได้เลย
ลัษณะความพิการแบบ transverse
2. Longitudinal คือลักษณะที่ แขน ขา ไม่ได้ด้วนไปทั้งส่วน เช่น fibular deficiency หรือการขาดหายไปของกระดูกฟิบูล่า(ขาส่วนที่เป็นหน้าแข้ง ประกอบด้วยกระดูก 2ชิ้น คือ tibia และ fibula) ผลคือทำให้ กระดูก tibia มีลักษณะโค้งงอเป็นขาโก่ง โดยคนไข้ยังมีส่วนเท้าอยู่แต่อาจบิดผิดรูป ทั้งนี้ความพิการของการขาดหายไปจะรวมไปถึง กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น เส้นประสาท และผิวหนัง
ลักษณะความพิการแบบ longitudinal
รูปด้านบนถูกนำมาเขียนลงบล็อกในหัวข้อ Case เบรสสำหรับขาหักดามเหล็ก ค่ะ สนใจดูรายละเอียดกายอุปกรณ์สำหรับขาพิการแบบด้านบนก็ตามลิงค์นี้นะค่ะ http://artitayacenter.blogspot.com/2013/02/case_25.html

อีกลักษณะหนึ่งที่กี้พบบ่อยในคนไข้เด็กพิการคือ น้องมีต้นขาสั้นกว่าข้างปกติ ไม่มีส่วนหน้าแข้ง แต่จะต่อด้วยเท้าเลย เรียกว่า PFFD สามารถติดตามอ่านได้ตามลิงค์ด้านล่างนี้นะค่ะ
http://artitayacenter.blogspot.com/2013/03/pffd.html

บันทึก 02 เทคโนโลยีกายอุปกรณ์

  Part I:  sco brace ( พลาสติกดามลำตัว สำหรับผู้มีกระดูกสันหลังคดงอ )  ✍️เก็บแบบโดยใช้วิธีวัดขนาด+ภาพถ่าย+ xray ไม่ได้ใช้ 3D scanner  💻Brac...