วันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557

AFO กับแผลหายยากกส์ (เบาหวาน ฯลฯ)

AFO กับแผลหายยากกส์ (เบาหวาน ฯลฯ)
  Chronic wound แผลเรื้อรัง/แผลหายยาก คือแผลที่เกิดขึ้นแล้วไม่หายในเวลาที่ควรจะเป็น คือ หายช้า ไม่หาย หรือเกิดขึ้นใหม่ซ้ำๆ ขณะที่แผลทั่วไปมักจะหายใน 1 ถึง 2 สัปดาห์
 ส่วนใหญ่หากนึกถึงแผลหายยากเรามักนึกถึงแผลเบาหวาน โดยเฉพาะแผลที่เท้า พบว่า ผู้เป็นเบาหวานประมาณร้อยละ 15 จะเกิดแผลที่เท้า และร้อยละ 14-24 ของผู้ป่วยกลุ่มนี้จะต้องถูกตัดขา ในทางกายอุปกรณ์การร่วมดูแลผู้ป่วยเบาหวานมักเป็น รองเท้าเบาหวาน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดแผลที่เท้าเป็นการป้องกันในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตามในเนื้อหาของตอนนี้จะเน้นไปที่พลาสติกดามขา/AFO ในรูปแบบที่จะเป็นตัวหนึ่งที่สามารถใช้ในการเยียวยาแผลเรื้อรังที่เกิดขึ้นแล้ว
   นอกจากเบาหวานแล้วยังมีปัจจัยอื่นๆอีกมากมายที่มีผลต่อการหายของแผล เช่น การอักเสบเรื้อรัง โรคบางชนิด อาทิ โรคที่เกี่ยวของกับภูมิคุ้มกัน การได้รับยาหรือสารบางชนิด การขาดเลือดไปเลี้ยงที่บาดแผล เนื่องจากหลอดเลือดไปเลี้ยงบริเวณแผลมีปัญหา การเคลื่อนไหวมากเกินไปของบาดแผล การได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ การสูบบุหรี่ การทําแผลและการรักษาที่ผิดวิธี อายุ เป็นต้น
 ชนิดของ AFO ที่จะมาแนะนำในครั้งนี้ คือ PTB AFO ซึ่งเคยเขียนหลักการเกี่ยวกับมันไว้บ้างแล้วในบทความอื่น แต่ PTB AFO ครั้งนี้จะมี modified เพิ่มขึ้นเล็กน้อยสำหรับแผลที่ฝ่าเท้า
ดังในรูปตัวอย่าง คนไข้อายุ 5 ปีมีแผลเรื้อรังที่ฝ่าเท้า เริ่มต้นจากแผลเล็กๆจากเศษก้อนหิน แล้วลุกลามขึ้นดังภาพ แน่นอนว่าคนไข้มีโรคประจำตัวอื่นอยู่ด้วย การเยียวยาบาดแผลจึงไม่ปกติ อีกปัญหาหนึ่งคือ คนไข้สูญเสียการรับรู้ความรู้สึกของขาตั้งแต่ระดับใต้เข่าลงไป นั่นหมายถึงเค้าจะไม่รู้สึกเจ็บแม้ลงน้ำหนักที่แผลหรือมีแผลเพิ่มขึ้น การดูแลก็ยังมีปัญหาอีกว่าด้วยความที่คนไข้ยังเด็กการที่ผู้ปกครองจะห้ามไม่ให้เค้าเดินในขณะที่เด็กยังมีแรงเดิน ไม่รู้สึกเจ็บและอยากวิ่งเล่นสนุก เป็นไปได้ยากที่จะควบคุม


ในปัญหาเช่นนี้ PTB AFO ซึ่งถูกออกแบบมาให้ป้องกันการลงน้ำหนักในส่วนที่บอบบางหรือมีปัญหา คือจะยันการลงน้ำหนักไว้ที่ patella tendon และส่วนต่างๆของหน้าแข้ง(ดังหลักการที่เคยอธิบายไว้ในบทอื่น) เสริมด้วยการเว้าลงของอุปกรณ์จุดที่รองรับแผล(โดยเทคนิคการทำอุปกรณ์) จะทำให้มีการกระจายแรงกดออกไปจากบริเวณบาดแผล จะช่วยป้องกันการกดกระแทกต่อบาดแผล บาดแผลก็จะไม่ถูกกระทบกระเทือน ในขณะที่คนไข้ยังสามารถเดิน/วิ่งได้ตามปกติ อุปกรณ์ประเภทนี้ต้องหล่อเฉพาะบุคคล สามารถใช้ได้กับทุกอายุวัย มีข้อดีเพิ่มเติมคือหากคนไข้มีปัญหาอื่นเพิ่มเติม เช่น เท้าบิดผิดรูป ตัวอุปกรณ์ก็ยังสามารถดัดแก้/ปรับ/ออกแบบได้ให้เหมาะสมกับปัญหาของคนไข้จำเพาะบุคคลไป คงทน ง่ายต่อการรักษาความสะอาด และผู้ป่วยสามารถถอดอุปกรณ์เมื่อต้องการทำแผลได้โดยสะดวก

บันทึก 02 เทคโนโลยีกายอุปกรณ์

  Part I:  sco brace ( พลาสติกดามลำตัว สำหรับผู้มีกระดูกสันหลังคดงอ )  ✍️เก็บแบบโดยใช้วิธีวัดขนาด+ภาพถ่าย+ xray ไม่ได้ใช้ 3D scanner  💻Brac...