วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2560

กายอุปกรณ์เสริมสำหรับไขสันหลังบาดเจ็บ

กายอุปกรณ์เสริมสำหรับไขสันหลังบาดเจ็บ

ตอนที่ 1
เมื่อพูดถึงการบาดเจ็บของไขสันหลังความรุนแรงของอาการมีหลายระดับมากค่ะ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของไขสันหลังที่บาดเจ็บ
ครั้งนี้ขอแนะนำกายอุปกรณ์เสริมสำหรับฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยไขสันหลังบาดเจ็บนะคะ
เป้าหมายของกายอุปกรณ์เสริมนี้ ก็เพื่อชดเชยความสามารถที่หายไปของผู้ป่วย ป้องกันการเคลื่อนไหว ให้ความมั่นคง ลดอาการเจ็บปวด ป้องกันการผิดรูป
กายอุปกรณ์ที่จะแนะนำนี้ ขอแบ่งเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน
กลุ่ม ที่ 1  กายอุปกรณ์ประคองคอ (Cervical Orthoses) ที่ใช้บ่อยได้แก่
- Halo Orthosis :มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันการขยับของกระดูกคอทุกระดับ แต่มีข้อเสีย คือ ค่อนข้างเกะกะทำให้ผู้ป่วยกางแขนไม่สะดวกเนื่องจากติดไหล่ ทำให้อาจมีปัญหา บริเวณที่หมุดเจาะยึดติดกับกระโหลกศีรษะ เช่น หลุด หรือมีการอักเสบติดเชื้อนอกจากนี้ยังอาจเกิดแผลกดทับบริเวณปุ่มกระดูกต่างๆจึงต้องคอยระมัดระวังอยู่เสมอ
- Four-poster Orthosis : อุปกรณ์ชนิดนี้สวมใส่ค่อนข้าง สะดวก น้ำหนักเบา แต่ไม่สามารถป้องกันการเคลื่อนไหวได้เต็มที่เท่า Halo Orthosis
- SOMI (Sterno-Occipital-Mandibular-Immobilizer) : มีประสิทธิภาพในการควบคุมการเคลื่อนไหวได้น้อยกว่า และไม่สามารถป้องกันการเหยียดคอได้เลย
- Philadelphia Collar ประกอบด้วยแผ่นพลาสติก 2 แผ่นประกบส่วนคอทางด้านหน้าและด้านหลัง สามารถควบคุมการขยับของกระดูกคอได้เพียงเล็กน้อย จึงไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีกระดูกคอไม่มั่นคง
- Soft Collar : เป็นแผ่นฟองน้ำหุ้มด้วยผ้ายืด ไม่สามารถป้องกันการขยับของกระดูกคอ แต่ใช้เป็นเพียงเครื่องช่วยเตือนให้ผู้ป่ วยระมัดระวังในการขยับคอ และช่วยลดอาการปวดบริเวณแผลผ่าตัดเท่านั้นใช้สำหรับผู้ป่วยที่ไม่มีการแตกหักหรือเคลื่อนของกระดูกสันหลังระดับคอ


ตอนที่ 2
กายอุปกรณ์ประคองลำตัว(Spinal Orthoses)
• Plastic Body Jacket ทำจากพลาสติกชนิดเทอร์โมพลาสติก โดยการหล่อแบบผู้ป่วยและนำมาข้ึนรูป อุปกรณ์ชนิดน้ีสามารถป้องกันการขยับของกระดูกสันหลังระดับทรวงอก เอว และกระเบนเหน็บในทุกทิศทางของการเคลื่อนไหว รวมทั้งลดแรงกดในแนวดิ่งที่มีต่อกระดูกสันหลังได้ แต่มีข้อควรระวังในเรื่องของผู้ป่วยที่อาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของการระบายความร้อนได้ไม่ดีหรือโรคที่เกี่ยวกับผิวหนังอื่น
• Jewett Orthosis เป็นกายอุปกรณ์แบบสำเร็จรูป ประกอบด้วยโครงโลหะเชื่อมติดกับแผ่นรัดด้านหน้าซึ่งคลุมตั้งแต่กระดูกบริเวณหน้าอกไปจนถึงเชิงกราน แผ่นหลังอยู่บริเวณกระดูกสันหลังส่วนทรวงอกต่อเอว ช่วยป้องกันไม่ให้หลังงอได้ดีมาก
• Knight-Taylor Orthosis ประกอบด้วยแกนโลหะแนวนอน 2 แกน แกนหนึ่งอยู่ที่ระดับสูงกว่าปลายล่างของกระดูกสะบัก และอีกแกนหนึ่งอยู่ระดับกระดูกเชิงกราน เชื่อมติดกันด้วยโลหะสองชิ้น ขนาบอยู่ทั้งสองข้างของกระดูกสันหลังและมีแกนด้านข้างลำตัวทั้งเซ้ายขวา เป็นตัวยึดแผ่นรัดหน้าท้อง มีสายคล้องไหล่ทั้งสองข้าง แบ่งตามระดับการควบคุมดังนี้- ระดับทรวงอก ป้องกัน flexion , extension, และ lateral flexion ได้ดีแต่ไม่สามารถป้องกันrotation ได้- ระดับเอว สามารถป้องกันการเคลื่อนไหวในทุกทิศทางได้ดีพอควร
- ระดับเอวต่อกระเบนเหน็บ สามารถป้องกัน lateral flexion และ rotation ได้ดี แต่ไม่สามารถจำกัดflexion  และ extension ได้

#กายอุปกรณ์ #ไขสันหลังบาดเจ็บ #spinalcordinjury  #ดามหลัง #ดามลำตัว #orthoses #bodyjacket #jewett #knighttaylor  #กายอุปกรณ์เสริม

ไขสันหลังบาดเจ็บ ตอนที่3 (จบ)
กายอุปกรณ์เสริมส่วนขา(Lower Limb Orthoses) : ในผู้ป่วยไขสันหลังบาดเจ็บนั้นการบาดเจ็บไขสันหลังอาจทำให้ใยประสาทในไขสันหลังถูกทำลาย กระแสประสาทจากสมองจึงไม่สามารถผ่านไปยังกล้ามเน้ือหรือจากกล้ามเน้ือผ่านไปยังสมองได้ เช่น การที่ส่วนของร่างกายที่ตำ่กว่าระดับไขสันหลังที่บาดเจ็บไม่มีความรู้สึก เพราะกระแสประสาทไม่สามารถส่งผ่านใยประสาทในไขสันหลังไปยังสมองได้ หรือผู้ป่วยไม่สามารถเดินได้ เนื่องจากกระแสประสาทไมสามารถส่งสัญญานใยประสาทในไขสันหลังไปยังเซลล์ไขหลังหลังควบคุมกล้ามเน้ือที่
ตำ่ลงมาให้ทำงานได้ เป็นต้น โดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยไขสันหลังบาดเจ็บ จะสูญเสียการรับความรู้สึกและการสั่งการให้กล้ามเน้ือทำงานใต้ระดับที่ได้รับบาดเจ็บเท่านั้นและจากการที่ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งท่อนล่างสูญเสียการทำงานของกล้ามเน้ือขาและลำตัวส่วนล่างจึงทำให้ไม่สามารถยืนและเดินได้กายอุปกรณ์เสริมส่วนขาสำหรับผู้ป่ วยไขสันหลังบาดเจ็บจึงถูกออกแบบมาเพื่อลดความพิการที่จำกัดความสามารถในการเดินของคนไข้

การฟื้นฟูสมรรถภาพโดยกายอุปกรณ์เสริมส่วนขา
- ไขสันหลังบาดเจ็บถึงระดับ T1-T6 ผู้ป่วยไม่ใช้อุปกรณ์ประคองขาในการช่วยเดินได้ แต่อาจใช้เพื่อการจัดท่าของข้อเท้าหรือป้องกันข้อต่อยึดติด

- ไขสันหลังบาดเจ็บถึงระดับ T11 ผู้ป่วยสามารถเดินในราวได้ด้วยการใช้ กายอุปกรณ์เสริมดามขาชนิดยาวคลุมสะโพก

- ไขสันหลังบาดเจ็บถึงระดับ T12-L1 ผู้ป่วยบางรายสามารถเดินโดยใช้อุปกรณ์ประคองขากาย
อุปกรณ์เสริมดามขาชนิดยาวคลุมสะโพก กายอุปกรณ์เสริมดามขาชนิดยาวและไม้คำ้ยันในระยะทางสั้นๆ

- ไขสันหลังบาดเจ็บที่ระดับ L2-L3 ผู้ป่วยสามารถเดินได้ด้วย กายอุปกรณ์เสริมดามขาชนิดยาว และไม้เท้าหรือว็อกเกอร์

- ไขสันหลังบาดเจ็บที่ระดับต่ำกว่า L4 ผู้ป่วยสามารถเดินได้ด้วย กายอุปกรณ์เสริมดามขาชนิดสั้น

#กายอุปกรณ์ #ไขสันหลังบาดเจ็บ #spinalcordinjury #sci #ดามขา #orthoses #hkafo #kafo #afo #กายอุปกรณ์เสริม #พลาสติกดามขา

วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2560

Pavlik Harness

เป็นอุปกรณ์ใช้กับทารกในปัญหา congenital hip displasia หรือ developmental hip dysplasia (ข้อสะโพกหลุดแต่กำเนิด) เป็นอาการสะโพกเลื่อนหรือหลุด คนละแบบกับ Neurogenic hip dislocation เช่น สะโพกหลุดในเด็กโรคสมองพิการอย่างที่เคยกล่าวถึงในโพสก่อนๆ นะคะ
กรณีนี้จะเกิดขึ้นในเด็กปกติ และสาเหตุยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ตัว pavlik harness จะมีสายพาดขาทั้งสองข้าง โยงไปถึงไหล่และหน้าอก เพื่อจับสะโพกและเข่าให้อยู่ในท่ากบ (ดังรูป) ใช้ในเด็กแรกเกิดถึง 6เดือน จะใส่ตลอดเวลา เพื่อช่วยสนับสนุนการเจริญเติบโตของกระดูกเบ้าสะโพก, หัวสะโพก และส่งเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยรอบ ระยะเวลาในการใส่กี่สัปดาห์ขึ้นอยู่กับพัฒนาการกระดูกของทารกแต่ละราย


ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.rch.org.au/kidsinfo/fact_sheets/Pavlik_Harness_for_DDH

บันทึก 02 เทคโนโลยีกายอุปกรณ์

  Part I:  sco brace ( พลาสติกดามลำตัว สำหรับผู้มีกระดูกสันหลังคดงอ )  ✍️เก็บแบบโดยใช้วิธีวัดขนาด+ภาพถ่าย+ xray ไม่ได้ใช้ 3D scanner  💻Brac...