วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

แขนเทียม Upper limb prostheses

จากประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาพบว่า เคสของผู้ที่เข้ามาปรึกษาเรื่องแขนเทียมมักมีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุ รองลงมาคือ เคสจากความพิการแต่กำเนิด ส่วนแขนที่เหลืออยู่จะถูกเรียกว่า "ตอแขน" หรือ "stump" หรือ residual limb"
ระดับการถูกตัดออก หรือ หายไปของตอแขน จะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน ดังรูป
ขอบคุณภาพจาก https://www.pinterest.ca/pin/271764158741770775/
หัวข้อในวันนี้คือ แขนเทียม เพราะฉะนั้นตามรูปข้างบนเลยคือ จะหมายถึงแค่การถูกตัดระดับข้อมือขึ้นไปนะคะ ส่วนการถูกตัดระดับมือหรือนิ้ว จะไว้กล่าวในหัวข้ออื่น

ระดับการถูกตัดออกมีความสำคัญอย่างไร? 
         จะสังเกตว่าระดับตอแขนจะถูกเรียกตามข้อต่อ เช่น ถูกตัดระดับข้อมือ ถูกตัดระดับใต้ข้อศอก ถูกตัดระดับเหนือข้อศอก เป็นต้น ยิ่งเป็นการตัดระดับสูงขึ้นมาแขนเทียมที่ใช้ก็จะมีความซับซ้อนมากขึ้น ต้องใช้ components มากขึ้น น้ำหนักของตัวอุปกรณ์ก็เพิ่มขึ้น แน่นอนราคาก็สูงขึ้นด้วย
ยกตัวอย่าง ถ้าระดับการถูกตัดคือใต้ศอก (transradial amputation) 
                                      ตัวอุปกรณ์เทียมก็จะเป็น ---> มือเทียม ข้อมือเทียม เบ้า
                   ถ้าระดับการถูกตัดคือเหนือศอก(transhumeral amputation)
                                     ตัวอุปกรณ์เทียมก็จะเป็น ---> มือเทียม ข้อมือเทียม  ข้อศอกเทียม เบ้า  

แขนเทียมมีแบบไหนบ้าง
        การเลือกชนิดของแขนเทียม นอกจากเรื่องราคาแล้ว คำถามสำคัญคือ  "ความต้องการที่จะนำไปใช้งาน"  เพราะจะช่วยให้นักกายอุปกรณ์สามารถเลือก component ได้เหมาะสมกับการนำไปใช้ของผู้รับบริการ
        เหมือนขาเทียมที่จะแบ่งเป็น แขนเทียมแกนใน หรือ แขนเทียมแกนนอกก็ได้ 
        แต่ที่นิยมคือแบ่งตาม การใช้งาน หรือ Design ได้แก่


                   1. cosmetic แขนเทียมเพื่อความสวยงาม 
ที่จริงแล้วนอกจากช่วยเรื่องความสวยงาม เพิ่มความมั่นใจ ยังช่วยเรื่องความbalance ของร่างกายในการนั่ง ยืน เดิน ทำให้เดินสวยขึ้น ลดองศาความเหวี่ยงไปด้านข้างขณะเดิน (lateral trunk bending) ให้อยู่ในพิสัยใกล้เคียงปกติ
                   น้ำหนัก ราคา และ วัสดุ ที่ใช้ในการทำ แขนเทียมแบบสวยงาม ค่อนข้างหลากหลายตามประสบการณ์ความถนัดของนักกายอุปกรณ์แต่ละคน รวมถึงราคาที่ผู้รับบริการยอมรับได้ และวัสดุที่มีที่หาซื้อได้ในแต่ละแห่ง

รูปด้านล่างนี้เป็นตัวอย่างของ แขนเทียมเพื่อความสวยงาม ระดับ forequarter amputation (หมายถึงระดับที่ ข้อไหล่ สะบัก และไหปลาร้าถูกตัดออก) แต่ในเคสนี้ ยังไม่ใช่ complete forequarter amputation เพราะยังเหลือ บางส่วนของสะบักและบางส่วนของกระดูกไหปลาร้าอยู่
แขนเทียมแบบสวยงามในเคส forequarter amputation

                        เคสนี้โจทย์ที่ผู้รับบริการเน้นมากๆคือ น้ำหนักเบาให้เบาให้ได้มากที่สุด ดูสมจริง ราคาไม่แพงเว่อร์ ใส่สบาย
                       - ดังนั้นสิ่งที่ผู้เขียนตัดออกไปก่อนคือ components ข้อต่อต่างๆ เพื่อลด weight ให้ได้มากที่สุด
                        -ผู้เขียนเลือกใช้ cosmetic foam (for upper limb prosthetics) สำหรับเติมในส่วนแขน และผสม flexfoam เติมในส่วนมือ ข้อดีคือได้แขนที่สามารถบิดงอตามข้อต่อได้ รวมถึงนิ้วมือก็บิดจัดท่าได้ในระดับหนึ่ง สัมผัสมีความแน่นไม่อ่อนยวบ ทั้งตัววัสดุยังสามารถปรับแต่งขนาดได้ เช่น เพิ่มความหนาเฉพาะที่ของแขนให้ดูมีกล้าม ล่ำขึ้น :D
                          - ตัวปลอกแขนเทียมนี้มีหลายสี หลายราคา แบบที่แพงมากขึ้นรายละเอียดจะดูสมจริงมากขึ้นเช่น ดูมีลายเส้นเอ็นมือ มีรูขุมขน
                           -ตัวเบ้าเคสนี้ใช้แบบ double socket คือ มีflexible liner นุ่มใส รองไว้ในเบ้า เพื่อให้เป็นมิตรกับผิว ตัวเชื่อมเบ้ากับปลอกแขนจะกลวง เพื่อให้มีน้ำหนักเบา 
                            -สำหรับ suspension ผู้เขียนเลือกใช้ ผ้ายืดพยุงไหล่แบบสำเร็จรูปเลยค่ะ เพราะ สวย สวมใส่ง่าย ใส่สบาย น้ำหนักเบา ราคาไม่แพง หาซื้อได้ไม่ยาก


                   2. Active prosthetics แขนเทียมเพื่อการใช้งาน อาจจะสวยด้วยก็ได้ แต่ใช้งานได้ด้วย น้ำหนักก็เพิ่มขึ้นด้วย

                Body powered ใช้แรงตัวเองอย่างเดียว
แขนเทียมแบบ body powered
ขอบคุณภาพจาก https://www.ottobock-export.com/en/prosthetics/upper-limb/solution-overview/arm-prostheses-body-powered/

                 แขนเทียมประเภทนี้จะคุมการขยับของมือโดยการเชื่อมต่อสายสลิง(harness) ไปยังส่วนบนๆที่เหลือของแขน แล้วใช้การขยับของร่างกายส่วนนั้นๆดึงสายสลึงที่ติดกับมือเทียมให้มือเทียมทำงาน
ถ้ายังงงงงลองชมคลิป การใช้มือเทียมคลิปนี้ดูค่ะ
https://www.youtube.com/watch?v=3M3ngBdq8lk


                                      - externally powered เช่นพวกแขนเทียมไฟฟ้า 

                    แขนเทียมไฟฟ้าทำงานโดยการติดตัว  electrode ในเบ้าแขนเทียม               ตัว electrode เมื่อจับสัญญาณจากการขยับของกล้ามเนื้อ(ที่ยังเหลืออยู่)ในตอแขนได้ ตัวสัญญาณก็จะถูกแปลงไปสั่งให้มือเทียมขยับตามผลของคำสั่งนั้น
                   มือเทียมไฟฟ้าเริ่มเข้ามามีจำหน่ายมากขึ้นในไทย คุณภาพการใช้งาน และราคามักแปรผันตรงไปด้วยกัน ฟังก์ชั่นต่างๆ เช่น อ้ามือหุบมือได้  คุมความเร็วในการขยับมือได้ กำหนดความแน่นในการบีบของมือได้ไหม(เพราะบางวัตถุต้องจับเบาๆ จับแน่นเด่วพัง) ท่าทางของมือที่จะสั่งให้ทำได้มีกี่ท่า เป็นต้น


ส่วนตัวเท่าที่เคยเทรนมา ตัวที่ทันสมัยที่สุด ณ ตอนนี้ และมีจำหน่ายออกมา น่าจะเป็น Myo Plus จาก Ottobock ค่ะ สามารถขยับมือได้หลากหลายรูปแบบดี ขั้นตอนการทำก็ไม่ยุ่งยาก ส่วนการใช้งาน คนไข้แขนเทียมทุกคนต้องฝึกการคุมเขียนเทียมค่ะ  ไม่ใช่ว่าใส่ปุ๊บขยับได้ปับ คือจะขยับได้แต่จะได้ท่าที่ต้องการก็ต้องฝึกก่อน ยิ่งเป็นแขนเทียมที่มีหลายคำสั่งการควบคุมก็จะยากขึ้น และไม่ใช่ว่าตัวมือเทียมไฟฟ้าที่ฟังก์ชั่นมากสุดจะดีที่สุดสำหรับทุกคน เพราะบางคนมีกล้ามเนื้อ(ที่ยังเหลืออยู่น้อย) หรือ ตอแขนเล็ก ไม่มีพื้นที่ติด electrode มาก หรือการขยับกล้ามเนื้อของแต่ละฟังก์ชั่นไม่แตกต่างกันมากพอ การแปลงสัญญาณก็จะไม่ชัดเจน  อย่างไรก็ตามประเด็นนี้ไม่ใช่สิ่งที่คนไข้ต้องกังวลค่ะ เพราะปกติการทำแขนเทียมไฟฟ้าจะมีการ test กล้ามเนื้อตอแขนก่อนอยู่แล้ว

https://www.youtube.com/watch?v=DdZVbCHhMVU
ลิงก์ตัวอย่างแขนเทียมไฟฟ้า Myo Plus จาก Ottobock



             

               
                          
         
                   

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ8 ตุลาคม 2566 เวลา 17:39

    ผมสนใจแขนเทียมคับติดต่อได้ทางไหนบ้างคับ

    ตอบลบ

บันทึก 02 เทคโนโลยีกายอุปกรณ์

  Part I:  sco brace ( พลาสติกดามลำตัว สำหรับผู้มีกระดูกสันหลังคดงอ )  ✍️เก็บแบบโดยใช้วิธีวัดขนาด+ภาพถ่าย+ xray ไม่ได้ใช้ 3D scanner  💻Brac...