สำหรับขาเทียม เนี่ย ตัว suspension มีหลายแบบ ได้แก่
1) พวกที่ถูกใช้มากสุด เพราะส่วนใหญ่ขาเทียมฟรีจากสิทธิ์ผู้พิการในไทยจะเป็นตัวนี้ คือ สายรัด มักเป็นตีนตุ๊กแกเย็บด้วยหนัง หรือ สายหนังแบบมีรูล็อกแบบเข็มขัด บางทีก็เรียกว่า Mulley straps สำหรับขาเทียมระดับใต้เข่า(ดังรูป) หรือ Tes belt สำหรับขาเทียมเหนือเข่า แบบต่อยอดขึ้นมาจากดีไซน์นี้จะเรียกว่า Thigh corset แต่ไม่เป็นที่นิยมนัก
2)พวกที่ได้รับความนิยมรองลงมา สังเกตว่าเริ่มแพร่หลายมากขึ้นในไทย คือ Knee sleeve ส่วนใหญ่วัสดุที่ใช้จะเป็นซิลิโคน จุดเด่นคือผู้ใช้มักรู้สึกสบายกระชับกว่าแบบ สายรัด จุดอ่อนคือราคาสูงกว่า (ประมาณ 7,000 บาท) และไม่เหมาะกับผู้ใช้ที่มืออ่อนแรงหรือผิดรูปเพราะจะใส่ลำบากกว่าเเบบสายรัด ปกติ Knee sleeve จะมีอายุการใช้งานประมาณ 1 ปี
3) เป็นแบบล็อกด้วยตัวเบ้า (self suspension) จากรูปจะสังเกตุว่าตัวขอบเบ้าล็อกอยู่เหนือกระดูกเข่า ทำให้ตัวขาเทียมล็อกกับตอขาคนไข้ เมื่อเดินก็ไม่เลื่อนหลุดลงถ้าทำออกมาดี ทั้งนี้ไม่เหมาะกับคนไข้ที่มีปัญหาตอขาบวมๆยุบ หรือมีรูปร่างที่ล็อกยาก
ทั้งนี้ยังมี self suspension อีกแบบหนึ่งที่ทำได้โดยใช้อุปกรณ์ RevoFit ที่เคยกล่าวถึงในโพสก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ตอขาไหนจะเหมาะกับการใช้ Self suspension หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของนักกายอุปกรณ์เป็นรายๆไป
4) เรียกว่า Silicone liner จากประสบการณ์ที่เคยทำขาเทียมมา ถ้าไม่ติดเรื่องราคาแล้ว suspension ประเภทนี้เป็นตัวเลือกที่ผู้ใช้ถูกใจที่สุด โดยเฉพาะชนิด pin lock liner ดังรูป ข้อดีคือใส่สบายไม่เทอะทะ ลดปัญหาเจ็บขณะเดินได้ดี เป็นมิตรต่อผิว ระคายเคืองน้อยกว่า คนไข้มักรู้สึกกระชับและมั่นใจในการเดินมากขึ้น ใส่ง่าย รวดเร็ว เหมาะกับคนไข้ที่มือทั้งสองใช้งานได้ดี จะสังเกตว่าปลาย liner มีเหล็กติดอยู่ เมื่อคนไข้สวมขาตัวเหล็กจะเข้าไปล็อกกับ Adapter ในขาเทียม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น