วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

What's foot orthosis?


              A foot orthosis is a device that is applied to the foot. The possible functions may be follows, evenly distribute weight bearing forces over plantar surface, relieved pain from painful sensitive areas, support arches of foot, decrease amount or rate of hyperpronation in walking or running, accommodate congenital foot deformity, compensate for leg length discrepancy, decrease some weight bearing stresses at specific joints. Pathologies that we will make a foot orthosis for patient such as pes planus, pes cavus, metatarsalgia, painful heel.
       The orthotic intervention needs a clear understanding of pathology, daily activities and materials and techniques for making.
       Insole is one orthotic solution for the foot, this design is simple to manufacture and fit, can be made to fill the entire length of the shoe or be ¾ in length. Usually for provide support of longitudinal and transverse arches. Rigid, semi-rigid, flexible materials can be used. It is indicated for mild arch instability, mild sub-talar instability, and insensate foot. But it is contraindications for moderate or severe arch instability and moderate or severe sub-talar instability.
        Casting is one of the processes to make insole. The  purpose of the casting procedure is to obtain the accurate alignment and shape of the patient’s feet that for capture the foot in most functional position, subtalar neutral is the main objective, secondly is forefoot neutral.
        There are a variety of methods for taking an impression of the foot to send to a laboratory for fabrication of orthosis. The most popular, and probably the most accurate, method remains the plaster cast. The application of the plaster bandage to the foot can be done in variety of ways, such as circumferential wrap or slab casting. Plaster casting is the optimum method of capturing the foot in subtalar joint neutral. it have most ability to capture the needed areas more proximally, such as for heel-foot type of devices. Plaster bandage techniques can do either non-weight bearing with the patient lying in supine or prone position and partial weight bearing with patient sitting. But patient may need to use plastic wrap to cover their skin and orthotist may need to use glove to prevent dirty from plaster using.
negative cast from plaster casting

        A second option is the foam impression method to get an impression of the foot in a partial weight bearing position. A semi-weight bearing may often better capture the location of a bony prominence, callus, or fibrous tissue mass. So the foam impression technique tends to have more soft tissue deformation on the plantar surface, which simulates the soft tissue changes taking place in weight bearing and this reduces the amount of modification needed to account for this. The one disadvantage of this method is that more proximal contours (e.g. calcaneus) are not captured as well.
negative cast from foam impression casting

positive cast

pseudoarthosis of tibia กับกายอุปกรณ์

 กรณีนี้เป็น ตัวอย่างเคส คนไข้ congenital pseudo arthrosis of tibia เป็นความผิดปกติแต่กำเนิดที่กระดูกหน้าแข้งโค้งงอขึ้นเรื่อยๆจนหักได้  คนไข้ ตย นี้อายุ 3 ขวบ ล่าสุดได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดแก้กระดูกและดามเหล็กอยู่ โดยมีการนัดติดตามผลต่อเนื่องเป็นระยะ เนื่องจากพยาธิสภาพนี้จะยังคงเป็นอยู่เรื่อยๆ ต้องมาผ่าตัดเป็นระยะ

ทั้งนี้ผู้ป่วยถูกส่งมากายอุปกรณ์เพื่อรับอุปกรณ์ดามขาที่เหมาะสม สำหรับลดความเสี่ยงที่กระดูกจะหักและแก้ปัญหาเท้ายาวไม่เท่ากัน (4 cm)

1.1 ตย ฟิลม x-ray 

ขาหักดามเหล็ก

อุปกรณ์ที่เหมาะสำหรับกรณีแบบนี้ คือ PTB AFO (patella tendon bearing ankle foot orthoses) เป็นเบรสดามขาชนิดนึง เนื่องจากน้องไม่สามารถลงน้ำหนักบริเวณที่ผ่าตัดได้ ตัวอุปกรณ์จะอาศัยหลักการค้ำน้ำหนักไว้ที่ส่วนบนของขาท่อนล่าง ตามรูปนะค่ะ
จุดรับน้ำหนักของ PTB AFO

รูปด้านบนเป็นกระดูกขาท่อนล่าง ตามหลักการของ PTB AFO แล้ว ส่วนที่เป็นสีดำเข้มคือส่วนที่เราจะให้ลงน้ำหนักแทนจุดที่เจ็บค่ะ แต่ก็จะยังคงอยู่ในหลักการของ total surface(คือตัวอุปกรณ์และขาเด็กสัมผัสกันทุกส่วน)
PTB AFO
เเล้วตัวอุปกรณ์ก็เสร็จเรียบร้อยตามรูปด้านบน จะติดเป็นรองเท้าอีกข้างของน้องได้เลย และมีการเสริมความยาวของขาให้เท่ากันแล้ว

ต่อไปคือการฝึกยืนลงน้ำหนัก........... แล้วก็ฝึกเดิน จากรูปด้านล่างน้องสามารถวิ่งได้เลย

ต้องการอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับลักษณะความพิการในเด็ก ตามลิงค์นี้นะค่ะ
http://artitayacenter.blogspot.com/2013/03/blog-post.html



วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ขาเทียม แบบแกนในและแกนนอก

ขาเทียมหลักๆแบ่งได้สองแบบ เรียกว่า แบบแกนใน (endoskeletal or modular design) กับแบบแกนนอก (exoskeletal design) ทั้งสองแบบมีความแตกต่างกันมาก แบ่งได้ง่ายตามวัสดุที่นำมาทำส่วนที่เป็นก้านแทนขาที่หายไปค่ะ
ขาเทียมหลักๆจะประกอบด้วย
 1. socket คือส่วนที่ใช้คลุมตอขาไว้ เป็นส่วนที่จะยึดขาเทียมไว้กับตอขา
2. pylon คือส่วนที่เป็นก้านแทนขาที่หายไปเป็นตัวแบ่งระหว่างขาเทียมแกนในและแกนนอก
 3. เท้าเทียม ที่ใช้กันมากในไทยจะเป็น SACH foot ดังรูป 1.1
       SACH foot เป็นเท้าเทียมเหมาะสำหรับใช้ใส่เดินแบบไม่ผาดโผน ประมาณคนวัย 60 (ถ้าอธิบายเป็นทางการ จะอยู่ในกลุ่ม functional level 2 ถึง 3 ) แต่ถ้าเป็นคนไข้ที่มี activity เยอะๆ ก็จะมีเท้าเทียมที่รองรับการทำกิจกรรมต่างๆให้เลือกอีกมาก ไม่ว่าจะแบบปืนขึ้นบันได หรือผ่อนแรงตอนวิ่ง
4. ข้อต่างๆ ได้แก่ ข้อเข่า ข้อสะโพก ขึ้นอยู่กับระดับการขาดของขาว่าข้อไหนหายไป
5. suspension คือสิ่งที่จะยึดขาเทียมไว้กับตอขา อาจเป็นแบบสายรัด หรือใช้ระบบ suction

ย้ำว่าทุกส่วนประกอบมีดีไซน์ให้เหลือหลากหลายมาก และเทคโนโลยีก็พัฒนาตัวเลือกใหม่ๆออกมาเรื่อยๆ
1.1 ขาเทียมแกนใน


ขาเทียมแบบแกนใน อันนี้เป็นภาพแสดงโครงสร้างภายใน หลังจากที่คนไข้ลองใส่ลองเดินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขาเทียมแกนในจะถูกหุ้มด้วยโฟม (cosmetic foam) ซึ่งจะทำให้ได้สีและรูปลักษณ์เหมือนขาจริงมาก  ส่วนที่เป็น socket ทำได้้ทั้งเป็นพลาสติกแข็งอย่างในภาพหรือจะ laminate (การขึ้นรูปด้วยเรซิ่น) ส่วนที่เป็น pylon ก็มีให้เลือกหลายชนิดค่ะ ไม่ว่าจะทำมาจาก อะลูมิเนียม ,ไททาเนียม, stainless-steel แล้วก็มาต่อกับเท้าเทียม  แบบแกนในมีข้อดีกว่าแกนนอกตรงที่ ปรับแก้ง่ายกว่า ใช้เวลาทำสั้นกว่า (พอประกอบเสร็จต้องให้คนไข้ลองใส่แล้วจัด alignment อีกครั้ง เรียกว่า adjust) มีความหลายหลายที่จะเลือกส่วนประกอบ(component)มากกว่า เช่นข้อเข่า เท้าเทียม น้ำหนักก็เบากว่าค่ะถ้าเทียบกันในระดับของขาขาดตั้งแต่เหนือเข่า การใช้งานและความสวยงาม ตอนนี้หลายรพ ในไทยเริ่มเปลี่ยนมาทำขาเทียมแบบแกนในกันมากแล้ว นับเป็นเรี่องดีให้ผู้พิการที่ใช้สิทธิ พรบ คนพิการ ในการรักษามีโอกาสได้รับอุปกรณ์ที่มีการพัฒนามากขึ้น

ขาเทียมแบบแกนนอก เป็นแบบที่ทำกันมาแต่ดั้งเดิม ยังพบว่าใช้ขาเทียมประเภทนี้กันอยู่ทั่วไปในประเทศไทย ขาเทียมแบบนี้ทำจากแกนที่เป็นไม้ แล้วเคลือบด้วยเรซิ่น  แบบนี้ไม่ได้มี component ให้เลือกนัก (ทั้งการยึดกับตอขาโดยสายรัด, ข้อเข่าแบบเดียว,เท้าแบบเดิม)

แขนเทียม มือเทียม โดยนักกายอุปกรณ์


คนไข้ที่มีความพิการแขนขาดไปหรืออาจพิการแต่กำเนิด นักกายอุปกรณ์สามารถที่จะผลิตแขนเทียมขึ้นทดแทนความพิการนั้น แขนเทียมอาจถูกสร้างขึ้นมาให้ใช้ทำงานในลักษณะต่างๆ (function) หรือเน้นมีไว้เพื่อความสวยงาม(cosmetic)เท่านั้นก็ได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของคนไข้
นักกายอุปกรณ์(CPO) จะเป็นผู้ออกแบบแขนเทียมที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโดยการประเมินร่างกาย ลักษณะงานที่ผู้ป่วยจะนำแขนเทียมไปใช้งาน และราคาที่เหมาะสม ทั้งนี้ราคาของแขนเทียมเริ่มต้นที่หลักหมื่นจนถึงหลักล้าน  การพิจารณาจึงต้องดูถึงความเหมาะสมภายใต้งบประมาณนั้นๆ
     
จากภาพ 1.1 เป็นตัวอย่างแขนเทียมระดับเหนือข้อศอก
ส่วนประกอบของแขนเทียม หลักๆจะมี ดังนี้
1. ตัวเบ้า เป็นส่วนรองรับตอแขนที่เหลืออยู่ของผู้ป่วย มีดีไซน์ที่หลากหลาย CPO จะหล่อแบบตอแขนโดยใช้เฝือกปูนได้ออกมาเป็นเบ้าแขน  แล้วนำประกอบกับชิ้นส่วนแขนเทียม
2. suspension หรือสิ่งที่จะยึดแขนเทียมกับร่างกาย มักจะใช้เป็นสายรัด คาดรอบหน้าอก(มีหลายแบบ)
3ข้อต่อ หมายรวมถึง ข้อไหล่เทียม ข้อศอกเทียม ข้อมือเทียม ขึ้นอยู่กับระดับแขนขาดของผู้ป่วยว่าข้อไหนหายไปบ้าง ข้อแต่ละแบบมีหลากหลายชนิดมาก เช่น ข้อศอกสำหรับคนป่วยที่มีข้อติด ข้อศอกแบบผ่อนแรง ข้อศอกแบบ manual lock  เป็นต้น
3.มือเทียม มีทั้งมือแบบตะขอ ซึ่งใช้งานได้ง่ายในการหยิบจับ หรือแบบสวมถุงมือครอบให้ดูสมจริงมากขึ้น แต่ประสิทธิภาพการหยิบจับอาจลดลง
4. ระบบมือเทียม ตรงนี้จะมีผลในการเลือกส่วนประกอบอื่นๆทั้งหมด แบ่งได้คร่าว สามแบบคือ 1. แบบใช้งานไม่ได้ เอาไว้เพียมสวมเพื่อเสริมความสมส่วนให้ร่างกาย 2. แบบคุมความเคลื่อนไหวของแขนโดยใช้สายสลิง เป็นแบบที่นิยมใช้กันมากที่สุดในไทย 3. แบบคุมการเคลื่อนไหว เรียกว่า bionic โดยมีเซนเซอร์จับการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่ยังคงเหลืออยู่ แล้วสั่งให้มือเทียมขยับได้ ซึ่งระบบนี้ผู้ป่วยต้องฝึกการควบคุมกล้ามเนื้อมากกว่าแบบอื่น มีราคาค่อนข้างสูงคือหลักล้าน  
ภาพ 1.1
มือเทียมแบบตะขอ

  ถุงมือเทียมมี 2 แบบ แบบแรกทำมาจาก PVC (polyvinyl chloride gloves) แบบนี้จะนิยมใช้กันมากเพราะราคาถูกค่ะ อยู่ที่หลักพัน จะมีหลากหลายโทนสีให้เลือก ตามรูปนะค่ะ


แบบที่สอง ทำมาจากซิลิโคนค่ะ จะมีความสวยงามสมจริงกว่าแบบแรก อันนี้สามารถให้รายละเอียดของลายนิ้วมือ โทนสีที่ไม่สม่ำเสมอของมือ เล็บ ขน ไฝ ปาน เรียกว่าก๊อปปี้จากมือข้างที่เหลือมาได้เลย มีความทนทานและทำความสะอาดได้ง่ายกว่าแบบแรก มักใช้ในคนไข้ที่มีมือขาดต่ำกว่าระดับข้อมือ นิ้วขาด หรือ นิ้วเท้าขาด เป็นต้น


กายอุปกรณ์เสริม อีกตัวช่วยหนึ่งของเด็กพิการทางสมอง



ผลจากพยาธิสภาพของสมองที่เกิดขึ้นในโรคสมองพิการ ทำให้เด็กสมองพิการมีความบกพร่องได้ทั้งการเคลื่อนไหวและการทรงตัว แม้ความผิดปกติของเนื้อสมองนี้จะไม่สามารถกลับคืนเป็นปกติและจะไม่แย่ลงไปกว่าเดิมอีก แต่ผลของการไม่สามารถควบคุมการทำงานของระบบกล้ามเนื้อทำให้เด็กสมองพิการมีแนวโน้มที่จะเกิดการผิดรูปของร่างกาย  เช่น ภาวะกระดูกสันหลังคด การยึดติดของกล้ามเนื้อ หรือ การคลาดเคลื่อนของกระดูกฃ้อต่อ ซึ่งจะถูกแก้ไขได้โดยการผ่าตัด กรณีนี้กายอุปกรณ์เสริมซึ่งเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ชนิดหนึ่งจะนำมาใช้ดามส่วนผิดรูปของคนไข้หลังผ่าตัดเพื่อป้องกันการกลับมาผิดรูปซ้ำหลังผ่าตัด กายอุปกรณ์เสริมที่ถูกนำมาใช้มากในเด็กสมองพิการคือ อุปกรณ์เสริมดามขาส่วนล่าง หรือที่เรียกว่า  Ankle Foot Orthosis (AFO)  เป็นอุปกรณ์ที่มีส่วนครอบคลุมตั้งแต่ระดับเท้าขึ้นไปแต่ไม่ถึงระดับเข่า ซึ่งก็มีอยู่หลายประเภทไม่ว่าจะแบบมีข้อต่อหรือไม่มีข้อต่อ ทำจากเหล็กหรือทำจากพลาสติก หรือที่เป็นประเภทเดียวกันก็สามารถออกแบบมุมองศาที่ต่างกัน ทั้งนี้พิจารณาจากความจำเพาะของคนไข้เป็นรายๆไป  AFOs สามารถป้องกันการผิดรูปของเท้าเนื่องจากความไม่สมดุลของระบบกล้ามเนื้อ  เพิ่มความมั่นคงขณะยืนให้เท้ายืนเต็มพื้นและพยุงข้อต่อต่างๆของเท้า ใช้ดามหลังผ่าตัด บางประเภทถูกออกแบบมาสำหรับช่วยลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ หรือในขณะเดิน AFOs ก็ช่วยป้องกันเข่าแอ่นในเด็กที่กล้ามเนื้อบริเวณเข่าอ่อนแรง ในทางตรงกันข้ามก็สามารถป้องกันการเดินที่เข่างอมากผิดปกติได้เช่นกัน

บันทึก 02 เทคโนโลยีกายอุปกรณ์

  Part I:  sco brace ( พลาสติกดามลำตัว สำหรับผู้มีกระดูกสันหลังคดงอ )  ✍️เก็บแบบโดยใช้วิธีวัดขนาด+ภาพถ่าย+ xray ไม่ได้ใช้ 3D scanner  💻Brac...