วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556

ขาเทียมในเด็ก

การพิจารณาให้กายอุปกรณ์เทียมในเด็กมีหลักเกณฑ์พิจารณาที่แตกต่างกันตั่งแต่ระดับทารกแรกเกิด จนโตเป็นผู้ใหญ่  อายุการใช้งานของขาเทียมในเด็กจะมีตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 2 ปี ขึ้นอยู่กับตัวอุปกรณ์ว่าสามารถปรับให้โตตามเด็กได้แค่ไหน ในเด็กมักจะนัดพบนักกายอุปกรณ์เพื่อตรวจสอบขาเทียมในทุก 4 เดือน เพราะเค้าจะโตไวมาก ไปจนเริ่มเข้าวัยผู้ใหญ่

เมื่อไหร่ถึงเหมาะสมที่เด็กจะได้รับขาเทียม?
กายอุปกรณ์เทียมสามารถพิจารณาให้เเก่เด็กได้ตั้งแต่เป็นทารก โดยมีวัตถุประสงค์ ในเรื่องของภาพลักษณ์ และการใช้งาน (functional mobility) อย่างไรก็ตามยังมีตัวเลือกให้ไม่มากนักสำหรับอุปกรณ์ที่จะใส่ให้ทารก


กายอุปกรณ์เทียมสำหรับขาเทียมระดับเหนือเข่าในเด็ก
การจะเลือกว่าจะให้เป็นขาเทียมแกนนอกหรือแกนในจะขึ้นอยู้กับความเหมาะสมกับเด็กแต่ละรายไป และความเห็นด้วยของผู้ปกครอง ในเด็กทารกเหมาะกับขาเทียมแบบแกนในที่ใช้ท่อแกนแบบพลาสติกเพราะน้ำหนักเบาและสวยงาม

ในบางกรณีผู้ปกครองเลือกที่จะให้เด็กใช้ขาเทียมแกนนอกมากกว่าแกนใน เพราะเหตุผลในเรื่องของความคงทน ที่แบบแกนในจะถูกหุ้มด้วยโฟมแต่งขา ซึ่งพังและสกปรกได้ง่าย แต่ผู้ปกครองบางคนอาจเลือกที่จะใช้แบบแกนในโดยไม่ต้องหุ้มกับโฟมแต่งขา เพราะเเบบแกนในสวยและน้ำหนักเบากว่า ซึ่งแกนในไม่หุ้มโฟมยังเหมาะสำหรับเด็กที่ยังดูแลการขับถ่ายเองไม่ได้ นอกจากนี้บางส่วนของขาเทียมแบบแกนในอันเดิมยังสามารถถอดมาใช้ในขาเทียมอันใหม่เมื่อเด็กโตขึ้นได้ หรืออาจใช้ shank แบบที่ปรับความยาวได้เมื่อเด็กโตขึ้นก็ได้ ซึ่งขาเทียมเเบบแกนนอกจะรีไซเคิลไม่ได้

ข่อเข้าของขาเทียม  มักจะเริ่มใช้ในคนไข้เด็กที่ฝึกทรงตัวได้เเล้ว หรือหากจะให้ก่อนหน้านั้นก็จะใช้แบบข้อเข้าที่ปลดล็อคได้ เพื่อให้เด็กนั่งงอเข้าได้ อย่างไรก็ตามการมีการศึกษาพบว่ายิ่งให้ข้อเข่าในขาเทียมเด็กตั่งแต่ช่วงฝึกเดินแรกๆ จะช่วยลดโอกาสการเดินผิดปกติ (gait deviation) ลงได้มาก
ตย ขาเทียมแบบมีข้อเข่า

ตย ขาเทียมใต้เข่าแบบแกนใน

ตย ขาเทียมระดับใต้เข่าแบบแกนนอก


กายอุปกรณ์เทียมสำหรับขาเทียมใต้เข่าในเด็ก
ขาเทียมที่สวมสะบายใช้งานได้ดีขึ้นอยู่กับเบ้าที่ดีเป็นสำคัญค่ะ และตัวยึดที่จะยึดเบ้าไว้กับตอขาในขาขาดรัดับใต้เข่าในเด็กมักจะใช้ supracondylar cuff suspension เป็นสายรัดเหนือหัวเข่าค่ะ อีdตัวนึงจะเป็น Sleeve suspension ตัวนี้ใส่สบายกว่าแต่ไม่เหมาะกับเด็กที่ซนมากๆ



บล็อกอธิบายขาเทียมแกนนอกแกนในต่างกันอย่างไร

http://artitayacenter.blogspot.com/2013/02/d.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บันทึก 02 เทคโนโลยีกายอุปกรณ์

  Part I:  sco brace ( พลาสติกดามลำตัว สำหรับผู้มีกระดูกสันหลังคดงอ )  ✍️เก็บแบบโดยใช้วิธีวัดขนาด+ภาพถ่าย+ xray ไม่ได้ใช้ 3D scanner  💻Brac...