วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556

เรื่องของเท้า

     เท้าประกอบด้วยกระดูกชิ้นเล็กๆข้างละ 26 ชิ้น (และกระดูก sesamoid 2 ชิ้น) เมื่อรวมกัน 2 ข้าง เท้าจะมีกระดูกถึง 52 ชิ้น ซึ่งเป็น 1 ใน 4 ของจำนวนกระดูกทั้งหมดในร่างกาย
     เท้าแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ เท้าส่วนหลัง (hindfoot) ประกอบด้วย กระดูก talus และ กระดูก calcaneus เท้าส่วนกลาง (midfoot) ประกอบด้วยกระดูก navicular  กระดูก cuboid และ กระดูก cuneiform 3 ชิ้น และเท้าส่วนหน้า (forefoot) ประกอบด้วยกระดูก metatarsal 5 ชิ้น กระดูก phalanges 14 ชิ้น และกระดูก sesamoid เล็กๆ 2 ชิ้น


แรงที่มากระทำต่อเท้า
         ในขณะเดินมีเเรงกระทำต่อเท้าข้างละประมาณ 120% ของน้ำหนักตัว และในขณะวิ่งมีแรงกระทำต่อเท้าสูงถึงข้างละประมาณ 275% ของน้ำหนักตัวมีการศึกษาพบว่าผู้ชายน้ำหนักตัว 68 กิโลกรัม เท้าแแต่ละข้างต้องรับน้ำหนัก 63.5 ตัน ในขณะเดิน และ 100 ตัน เมื่อวิ่งเป็นระยะทาง 1.6 กิโลเมตร
       ในขณะยืนเท้าเปล่าพบว่าแรงที่มากระทำต่อฝ่าเท้าจะมีการกระจายในแต่ละจุดไม่เท่ากัน คือส้นเท้า 60% เท้าส่วนกลาง 8% เท้าส่วนหน้า 28% และนิ้วเท้า 4%


แสดงแรงที่กระทำต่อฝ่าเท้าแต่ละจุดขณะยืน
พยาธิสภาพของเท้าที่พบได้บ่อย

      1.  เท้าแบน หรือ pes planus หรือ flat foot
             เป็นลักษณะที่เท้ามีความสูงของอุ้งเท้าลดลง ( ความสูงของ medial longitudinal arch ลดลง) ส่งผลให้บริเวณอุ้งเท้าที่ต่ำลงต้องรับน้ำหนักมากขึ้น(จากอัตราปกติ) คนไข้มักมีอาการปวดเท้าขณะเดิน ซึ่งสาเหตุนี้สามารถทำให้เกิด โรครองช้ำ (plantarfasciitis ) และ อาการปวดตรงฐานนิ้วเท้า (Metatarsalgia)
และอาจมีกระดูกส้นเท้าบิดออกด้านนอกร่วมด้วย(calcaneal valgus)  นอกจากนี้เข่าอาจอยู่ในท่าบิดออก
(genu valgum)
ระยะอาการของเท้าเเบนผิดรูปจากเท้าปกติ (ซ้าย) จนถึงเท้าเเบนผิดรูป รุนเเรง (ขวา)

             เท้าเเบนมีอยู่ 2 ประเภท คือเเบบดัดเเก้ได้ (flexible) อุ้งเท้าจะเเบนขณะที่ยืนลงน้ำหนัก เเต่จะมีอุ้งเท้าเมื่อยกเท้าขึ้นหรือยืนเขย่งเท้า ซึ่งเท้าเเบนชนิดนี้พบได้บ่อยกว่า เเละเเบบติดเเข็ง (fixed) อุ้งอุ้งเท้าจะเเบนทั้งในขณะที่ยืนลงน้ำหนักเเละยกเท้าขึ้น
             โดยทั่วไปการวินิจฉัยอาศัยการตรวจร่างกายเเละการพิมพ์รอยเท้า เด็กเล็กๆในช่วงอายุ 1-2 ปี เเรกมักมีเท้าค่อนข้างเเบน เนื่องจากมีไขมันบริเวณอุ้งเท้าด้านในมาก เเละเมื่อโตขึ้นจะเริ่มมีอุ้งเท้ามากขึ้น ภาวะเท้าเท้าเเบนพบได้จนถึงอายุ 6 ปี 
             สาเหตุของเท้าเเบนยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน สันนิฐานว่าเกิดจากความผิดปกติของการเรียงตัวของกระดูกภายในเท้า ถ้าเป็นเท้าเเบนที่เกิดขึ้นภายหลังมักเกิดจากTendonของกล้ามเนื้อTibialis Posterior ขาด 

             การดูเเลรักษาทางกายอุปกรณ์
             
             - ในเด็กที่ยังไมjอาการยังไม่ต้องรักษา 
             - ในกรณีที่มีอาการ จะใช้เเผ่นรองรองเท้าหล่อพิเศษเฉพาะตัวบุคคลสำหรับพยุงอุ้งเท้าเเละช่วยกระจายเเรงที่กระทำต่อฝ่าเท้าเพื่อลดอาการป่วดของผู้ป่วยเเละป้องกันไม่ให้เท้าผิดรูปมากขึ้น
            



              

2 ความคิดเห็น:

  1. เทอคนนี้ทั้งสวย ทั้งเก่งเหมาะสำหรับที่จะเป็นนางสาวศรีสยาม

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ8 กรกฎาคม 2565 เวลา 10:02

    สนใจอยากพาลูกไปรักษาลูกมีส้นเท้าแบะสถานที่ตั้งอยู่ที่ไหนคะ

    ตอบลบ

บันทึก 02 เทคโนโลยีกายอุปกรณ์

  Part I:  sco brace ( พลาสติกดามลำตัว สำหรับผู้มีกระดูกสันหลังคดงอ )  ✍️เก็บแบบโดยใช้วิธีวัดขนาด+ภาพถ่าย+ xray ไม่ได้ใช้ 3D scanner  💻Brac...