ขาเทียมหลักๆจะประกอบด้วย
1. socket คือส่วนที่ใช้คลุมตอขาไว้ เป็นส่วนที่จะยึดขาเทียมไว้กับตอขา
2. pylon คือส่วนที่เป็นก้านแทนขาที่หายไปเป็นตัวแบ่งระหว่างขาเทียมแกนในและแกนนอก
3. เท้าเทียม ที่ใช้กันมากในไทยจะเป็น SACH foot ดังรูป 1.1
SACH foot เป็นเท้าเทียมเหมาะสำหรับใช้ใส่เดินแบบไม่ผาดโผน ประมาณคนวัย 60 (ถ้าอธิบายเป็นทางการ จะอยู่ในกลุ่ม functional level 2 ถึง 3 ) แต่ถ้าเป็นคนไข้ที่มี activity เยอะๆ ก็จะมีเท้าเทียมที่รองรับการทำกิจกรรมต่างๆให้เลือกอีกมาก ไม่ว่าจะแบบปืนขึ้นบันได หรือผ่อนแรงตอนวิ่ง
4. ข้อต่างๆ ได้แก่ ข้อเข่า ข้อสะโพก ขึ้นอยู่กับระดับการขาดของขาว่าข้อไหนหายไป
5. suspension คือสิ่งที่จะยึดขาเทียมไว้กับตอขา อาจเป็นแบบสายรัด หรือใช้ระบบ suction
ย้ำว่าทุกส่วนประกอบมีดีไซน์ให้เหลือหลากหลายมาก และเทคโนโลยีก็พัฒนาตัวเลือกใหม่ๆออกมาเรื่อยๆ
1.1 ขาเทียมแกนใน |
ขาเทียมแบบแกนใน อันนี้เป็นภาพแสดงโครงสร้างภายใน หลังจากที่คนไข้ลองใส่ลองเดินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขาเทียมแกนในจะถูกหุ้มด้วยโฟม (cosmetic foam) ซึ่งจะทำให้ได้สีและรูปลักษณ์เหมือนขาจริงมาก ส่วนที่เป็น socket ทำได้้ทั้งเป็นพลาสติกแข็งอย่างในภาพหรือจะ laminate (การขึ้นรูปด้วยเรซิ่น) ส่วนที่เป็น pylon ก็มีให้เลือกหลายชนิดค่ะ ไม่ว่าจะทำมาจาก อะลูมิเนียม ,ไททาเนียม, stainless-steel แล้วก็มาต่อกับเท้าเทียม แบบแกนในมีข้อดีกว่าแกนนอกตรงที่ ปรับแก้ง่ายกว่า ใช้เวลาทำสั้นกว่า (พอประกอบเสร็จต้องให้คนไข้ลองใส่แล้วจัด alignment อีกครั้ง เรียกว่า adjust) มีความหลายหลายที่จะเลือกส่วนประกอบ(component)มากกว่า เช่นข้อเข่า เท้าเทียม น้ำหนักก็เบากว่าค่ะถ้าเทียบกันในระดับของขาขาดตั้งแต่เหนือเข่า การใช้งานและความสวยงาม ตอนนี้หลายรพ ในไทยเริ่มเปลี่ยนมาทำขาเทียมแบบแกนในกันมากแล้ว นับเป็นเรี่องดีให้ผู้พิการที่ใช้สิทธิ พรบ คนพิการ ในการรักษามีโอกาสได้รับอุปกรณ์ที่มีการพัฒนามากขึ้น
ขาเทียมแบบแกนนอก เป็นแบบที่ทำกันมาแต่ดั้งเดิม ยังพบว่าใช้ขาเทียมประเภทนี้กันอยู่ทั่วไปในประเทศไทย ขาเทียมแบบนี้ทำจากแกนที่เป็นไม้ แล้วเคลือบด้วยเรซิ่น แบบนี้ไม่ได้มี component ให้เลือกนัก (ทั้งการยึดกับตอขาโดยสายรัด, ข้อเข่าแบบเดียว,เท้าแบบเดิม)
พอผมพิการอยากได้ขาเทียมครับ
ตอบลบ