วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

pseudoarthosis of tibia กับกายอุปกรณ์

 กรณีนี้เป็น ตัวอย่างเคส คนไข้ congenital pseudo arthrosis of tibia เป็นความผิดปกติแต่กำเนิดที่กระดูกหน้าแข้งโค้งงอขึ้นเรื่อยๆจนหักได้  คนไข้ ตย นี้อายุ 3 ขวบ ล่าสุดได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดแก้กระดูกและดามเหล็กอยู่ โดยมีการนัดติดตามผลต่อเนื่องเป็นระยะ เนื่องจากพยาธิสภาพนี้จะยังคงเป็นอยู่เรื่อยๆ ต้องมาผ่าตัดเป็นระยะ

ทั้งนี้ผู้ป่วยถูกส่งมากายอุปกรณ์เพื่อรับอุปกรณ์ดามขาที่เหมาะสม สำหรับลดความเสี่ยงที่กระดูกจะหักและแก้ปัญหาเท้ายาวไม่เท่ากัน (4 cm)

1.1 ตย ฟิลม x-ray 

ขาหักดามเหล็ก

อุปกรณ์ที่เหมาะสำหรับกรณีแบบนี้ คือ PTB AFO (patella tendon bearing ankle foot orthoses) เป็นเบรสดามขาชนิดนึง เนื่องจากน้องไม่สามารถลงน้ำหนักบริเวณที่ผ่าตัดได้ ตัวอุปกรณ์จะอาศัยหลักการค้ำน้ำหนักไว้ที่ส่วนบนของขาท่อนล่าง ตามรูปนะค่ะ
จุดรับน้ำหนักของ PTB AFO

รูปด้านบนเป็นกระดูกขาท่อนล่าง ตามหลักการของ PTB AFO แล้ว ส่วนที่เป็นสีดำเข้มคือส่วนที่เราจะให้ลงน้ำหนักแทนจุดที่เจ็บค่ะ แต่ก็จะยังคงอยู่ในหลักการของ total surface(คือตัวอุปกรณ์และขาเด็กสัมผัสกันทุกส่วน)
PTB AFO
เเล้วตัวอุปกรณ์ก็เสร็จเรียบร้อยตามรูปด้านบน จะติดเป็นรองเท้าอีกข้างของน้องได้เลย และมีการเสริมความยาวของขาให้เท่ากันแล้ว

ต่อไปคือการฝึกยืนลงน้ำหนัก........... แล้วก็ฝึกเดิน จากรูปด้านล่างน้องสามารถวิ่งได้เลย

ต้องการอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับลักษณะความพิการในเด็ก ตามลิงค์นี้นะค่ะ
http://artitayacenter.blogspot.com/2013/03/blog-post.html



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บันทึก 02 เทคโนโลยีกายอุปกรณ์

  Part I:  sco brace ( พลาสติกดามลำตัว สำหรับผู้มีกระดูกสันหลังคดงอ )  ✍️เก็บแบบโดยใช้วิธีวัดขนาด+ภาพถ่าย+ xray ไม่ได้ใช้ 3D scanner  💻Brac...