วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ปัญหาขาโก่ง กับตัวเลือกทางกายอุปกรณ์

ขาโก่ง หรือ Bowleg ในที่นี้หมายถึง อาการที่ข้อเข่าทั้งสองข้างโค้งแยกออกจากกัน ในขณะที่ข้อเท้าและเท้ายืนชิดติดกัน

ในเด็กเล็ก มักพบว่ามีอาการของ "เข่าโก่งแบบปกติ" หรือ Physiologic bowed leg" พบได้ทั่วไปในเด็กอายุต่ำกว่า 18 เดือน ซึ่งเกิดจากการหมุน( twist)เล็กน้อยของกระดูกขณะอยู่ในท้องแม่ เมื่อเด็กเริ่มเดินได้ องศาการโก่งอาจเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อยจากนั้นจะค่อยๆดีขึ้นจนเป็นปกติ หรือเกินปกติเล็กน้อยคือจากเดิมที่เข่าเบนออกกลายเป็นเบนเข้าใน หรือเรียกว่า "Knock-Knees" ซึ่งมักพบในช่วงอายุ 3-4 ปี หลังจากนั้นโดยส่วนใหญ่แล้วขาจะมาตรงเป็นปกติ ในช่วงอายุ 7-8 ปี ดังรูป
ขอบคุณภาพจาก http://www.raffaelloriccio.com/page.php?req=patologie&id=95&cat=GINOCCHIO

อย่างไรก็ตามยังมีอีกกลุ่มที่เป็นอาการเข่าโก่งแบบ "ผิดปกติ" หรือเรียกว่า
"Pathologic bowed leg" เป็นขาโก่งที่พบไม่บ่อยนัก และมีสาเหตุค่อนข้างหลากหลาย อาทิ
- ฺBlount's disease เกิดจากการเติบโตที่ผิดปกติของกระดูกหน้าแข้ง ยิ่งเด็กเดินเยอะขึ้นองศาการโก่งก็จะยิ่งแย่ลง มักพบในเด็กเพศหญิง อ้วน และเด็กที่เริ่มเดินเร็วกว่าปกติ ทั้งนี้โดยปกติแล้วเด็กจะเริ่มเดินด้วยตัวเองเมื่ออายุ 11-14 เดือน
- กระดูกบาง กระดูกพรุ่นในเด็ก
- เด็กมีภาวะเต้ยแคระ
-อื่นๆ เช่น กระดูกหักแล้วไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม

สามารถจำแนก "Pathologic bowed leg" จาก Physiologic bowed leg" ได้คร่าวๆ คือ เข่าโก่งแบบปกติ มักเป็น 2 ข้างเท่ากัน และองศาการโก่ง ไม่เกิน 15 องศา เด็กไม่มีปัญหาตัวเตี้ย /ปัญหาเดินช้า

Q: หากพ่อแม่กังวลว่าลูกมีปัญหาขาโก่งหรือไม่ควรทำอย่างไร
A: ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์เพื่อเริ่มวางแผนการรักษาแต่เนิ่นๆ หากผู้ป่วยมีความจำเป็นที่จะใช้กายอุปกรณ์ในการรักษา ทางแพทย์จะส่งต่อผู้ป่วยมายังคลินิกกายอุปกรณ์เพื่อพิจารณาอุปกรณ์ที่เหมาะสมต่อไป 

Q :การออกกำลังกาย ทำกายภาพบำบัด สามารถแก้อาการเข่าโก่งได้หรือไม่ 
A: มีข้อมูลว่าการฝึกกล้ามเนื้อขาให้แข็งแรง การออกำลังกายข้อเข่า จะช่วยลดแรงกระแทกต่อข้อเข่าขณะเดิน 

ตัวอย่างการใช้ เบรสดามเข่า( Knee ankle Orthoses, KAFO) สำหรับดัดแก้อาการเข่าโก่งในเด็กเล็ก 
ฟิลม์ X-ray เปรียบเทียบองศาขาโก่งก่อนใช้ knee orthoses และ องศาขาโก่งหลังใส่ knee ankle orthoses เป็นเวลา 6 เดือน


      เคสนี้เป็นเด็กเล็ก อายุ 1.5 ปี ถูกส่งมาคลินิกกายอุปกรณ์ ด้วยปัญหาขาโก่งผิดปกติ (> 20 องศา) ผู้เขียนได้เพลนทำการรักษาด้วย KAFO ไว้ที่ 1 ปี 
         แนวทางการทำ KAFO สำหรับเคสเช่นนี้ จุดที่ต้องคำนึงถึงมากเป็นพิเศษคือ การเลือกวัสดุที่เบาแต่แข็งแรงพอของตัวอุปกรณ์ เพราะด้วยความที่คนไข้เป็นเด็กเล็ก หากอุปกรณ์หนัก ใส่ไม่สบาย หรือ ให้ความรู้สึกเกะกะ เค้าจะไม่ยอมใส่ และการรักษาจะไม่สำเร็จ 
           
รูปKO ที่ใช้ในเคสนี้ หลังปรับองศาข้อเข่า
                           KO สำหรับเคสเข่าโก่งในเด็ก บาร์เหล็กด้านข้างมักถูกละออกเพื่อลดความหนัก แต่จะใช้ดีไซน์ขอบพลาสติกให้สูงขึ้นแทน ส่วนของเท้าในเคสนี้ได้ต่อพื้นรองเท้าเพิ่มขึ้นมาเพื่อความสะดวกในการสวมใส่ตามที่ผู้ปกครองขอ 
ตัว KAFOO นี้พบว่าผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการใส่เป็นอย่างดี ใส่อย่างต่อเนื่องทุกวัน สามารถวิ่งเล่นขณะใส่ KAFO ได้ตามปกติ

หลังได้รับอุปกรณ์ ผู้ป่วยจะมาคลินิกเพื่อติดตามผลและปรับองศาข้อเข่าเป็นระยะ จนกระทั่งตัวข้อเข่าของ KAFOอยู่ในองศาปกติ ในเคสนี้ข้อเข่าถูกปรับให้อยู่ในแนวเข่าตรงปกติ ในเดือนที่ 3

และในเดือนที่ 6 พบว่าแนวขาของผู้ป่วยกลับมาอยู่ในแนวปกติ แม้ถอด KAFO ออก ดังรูป X-ray 

ถึงแม้แนวขาจะไม่โก่งแล้ว แต่จะยังแนะนำให้ผู้ป่วยใส่ KAFO ต่อไปอีก 3-6 เดือนเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ แต่จะลดชั่วโมงการใส่ในแต่ละวันลง 
อย่างไรก็ตามการใช้ KAFO เป็นเพียงทางเลือกหนึ่งในการใช้รักษาขาโก่ง ยังมีทางเลือกอื่นๆอีก เช่น การผ่าตัด ซึ่งสามารถ​สอบถาม​ข้อมูล​เพิ่มเติม​ได้จากคุณ​หมอ​ออร์​โธ​ปิดิ​กส์​ 
จากประสบการณ์​ที่ทำ KAFO ในเด็กกลุ่ม​นี้​มา ผลลัพธ์​จะออกมาดีได้ จะต้องอาศัยปัจจัย​เหล่านี้คือ 1. นักกายอุปกรณ์​ต้องมีความชำนาญจริงในการทำอุปกรณ์ชนิดนี้  2. ผปค ต้องให้ความร่วมมือและสามารถคุมให้เด็กใส่อุปกรณ์​ได้อย่างต่อเนื่อง 
จะบกพร่องปัจจัย​ใดไปไม่ได้ มิฉะนั้น​การรักษาจะไม่สำเร็จ​

ก่อนหน้านี้เคยเขียนเกี่ยวกับขาโก่งไว้บ้างแล้วแต่จะเน้นเป็นการโก่งของหน้าแข้งไปด้านหน้า สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บันทึก 02 เทคโนโลยีกายอุปกรณ์

  Part I:  sco brace ( พลาสติกดามลำตัว สำหรับผู้มีกระดูกสันหลังคดงอ )  ✍️เก็บแบบโดยใช้วิธีวัดขนาด+ภาพถ่าย+ xray ไม่ได้ใช้ 3D scanner  💻Brac...