กระดูกหน้าแข้งโค้งงอ(tibial bowing) พบได้หลายประเภท มีการพยากรณ์โรคหลากหลายขึ้นอยู่กับทิศทางและจุดหักโค้งของกระดูก
-
Lateral
tibial bowing
กระดูกหน้าแข้งโค้งงอไปด้านข้าง มักพบในทารก มักเป็นไม่รุนแรง
เป็นสองข้างเท่ากัน มักไม่มีปัญหาสุขภาพด้านอื่นร่วมด้วย กรณีเช่นนี้มักหายเองได้เมื่อทารกเริ่มโตขึ้น
-
Anterior
tibial bowing
กระดูกหน้าแข้งโค้งงอไปด้านหน้า มักพบว่าผู้ป่วยไม่มีกระดูก fibula บางครั้งอาจพบรอบบุ๋มเหนือจุดหักโค้ง
ปัญหาหลักที่เกิดขึ้นคือ ขาจะสั้นกว่าข้างปกติ
-
Posteromedial tibial bowing
กระดูกหน้าแข้งบิดโค้งไปด้านหลังและด้านใน มักพบว่าส้นเท้าบิดร่วมด้วย
ขามักสั้นกว่าข้างปกติ 2-4
cm การผิดรูปจะค่อยๆดีขึ้นเมื่อโตขึ้น
แต่ไม่ดีร้อยเปอร์เซน การแก้ไขโดยการผ่าตัดจึงมักจำเป็น
กรณีที่เป็นไม่มาก การใช้รองเท้าเสริมความสูงสามารถช่วยได้ดี
แต่จากรูปด้านบน ความผิดรูปที่เกิดขึ้นมีมาก จำเป็นต้องใส่ brace ประคอง ป้องกันการหักซ้ำ
และเสริมความสูงช่วยให้เดินได้สมดุล จากภาพ เด็กใส่ brace ได้สบายวิ่งปร๋อเชียว
-
Anterolateral
tibial bowing
กระดูกหน้าแข้งบิดโค้งไปด้านหน้าและด้านข้าง
เป็นชนิดที่มีปัญหามากที่สุด กระดูกจะโค้งงอขึ้นเองเรื่อยๆ และจะหัก ซึ่งนำไปสู่ Pseudarthrosis of the tibia
Pseudarthrosis of the tibia คือพยาธิสภาพกระดูกหักซึ่งตัวพยาธิสภาพนี้อาจมีมาแต่ในครรภ์หรือหลังคลอด
ลักษณะพยาธิสภาพมักจะทำให้กระดูกหน้าแข้ง (tibia) บิดงอออกทางด้านหน้าและด้านข้างมากขึ้นเรื่อยๆ ลำดับความรุนแรงของตัวพยาธิสภาพสามารถพิจารณาได้จากรูป
ล่าง
กระดูกโค้งงอประเภทนี้เนื่องจากโค้งงอไปเรื่อยๆจนหัก
แม้ผ่าตัดแก้กระดูกที่หักแล้ว ก็จะกลับมาหักซ้ำอีกเรื่อยๆ
เพราะกระดูกยังคงเติบโตแบบงอๆไปเรื่อยๆ ดังนั้นที่จะใช้หลังผ่าตัด จะเป็น
พลาสติกดามขา ที่จะประคองป้องกันกระดูกหักช่วยยืดระยะเวลาผ่าตัด ลดการลงน้ำหนักไปที่กระดูกหน้าแข้ง
เสริมความสูงขาให้เท่ากัน เรียกว่า PTB AFO คะ เป็น brace
ชนิดหนึ่ง 2
รูปล่าง เรียกว่า PTB AFO
คะ
หลักๆคือใช้เมื่อต้องการลดน้ำหนักไม่ให้ลงไปที่จุดบาดเจ็บระดับใต้เข่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น