วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

กายอุปกรณ์แบบหล่อจำเพาะVS กายอุปกรณ์แบบสำเร็จรูป

ชนิดกายอุปกรณ์ ตามการผลิต
กายอุปกรณ์แบบหล่อจำเพาะVS กายอุปกรณ์แบบสำเร็จรูป
กายอุปกรณ์แบบหล่อจำเพาะ (Custom made orthoses)
กายอุปกรณ์ประเภทนี้จะทำโดยcopyขนาด จากคนไข้แต่ละคนเป็นรายๆไป โดยนักกายอุปกรณ์จะcopy(หล่อเฝือก/วาดลอกแบบ) จากนั้นนำตัวcopyที่ได้ไปสร้างหุ่นทำอุปกรณ์
จุดดี
-                   มีขนาดตามสัดส่วนจริงของคนไข้แต่ละคน
-                   เหมาะกับผู้ที่ต้องใช้กายอุปกรณ์ทุกคน
-                   สามารถปรับแต่งดีไซน์ได้หลายหลายตามแต่ความเหมาะสมในพยาธิสภาพของคนไข้แต่ละคน
จุดด้อย
-                   ใช้เวลานานในการผลิตชิ้นงานแต่ละชิ้น
-                   มักมีราคาสูง






                                                                                                                                                          
กายอุปกรณ์แบบสำเร็จรูป (prefabricate orthoses)
กายอุปกรณ์ประเภทนี้จะเป็นอุปกรณ์ที่ทำเสร็จแล้วมีวางขายตามท้องตลาด โดยจะแบ่งขนาดเป็น S M L XL เป็นต้น
จุดดี
-สะดวก รวดเร็ว ผู้ป่วยสามารถรับอุปกรณ์กลับบ้านได้ทันที
- ราคาไม่แพงเมื่อเทียบกับอุปกรณ์ประเภทหล่อจำเพาะ
- ช่วยแบ่งเบากำลังงานการผลิตกายอุปกรณ์
- ใช้ได้ง่ายและสะดวกในกลุ่มคนไข้ที่ยังมีปัญหาไม่มาก
จุดด้อย
-                   มีรูปแบบให้เลือกไม่มาก เหมาะกับผู้ป่วยเพียงบางส่วน
-                   สามารถปรับแต่งได้น้อยมาก ไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่มีความผิดรูปแบบจำเพาะ
-                   อาจพบปัญหาใส่อุปกรณ์ไม่พอดี ไม่รับกับสัดส่วนร่างกายเท่าที่ควร






                                                                                                                                                                          

การพิจารณาจำหน่ายอุปกรณ์ให้ผู้ป่วยจึงต้องพิจารณาไปตามความจำเป็นของแต่ละบุคคลคะ กรณีผู้ป่วยใช้แบบสำเร็จรูปได้ ก็จ่ายแบบสำเร็จรูปไป ผู้ป่วยก็จะได้รับของกลับบ้านไปใช้ได้เลย ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายไปได้เยอะ แต่หากต้องใช้แบบหล่อจำเพาะก็จะรอรับอุปกรณ์นานกว่า มักต้องมาทำอุปกรณ์ถึง 3 ครั้ง มีคาใช้จ่ายที่สูงกว่า ประมานนี้คะ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บันทึก 02 เทคโนโลยีกายอุปกรณ์

  Part I:  sco brace ( พลาสติกดามลำตัว สำหรับผู้มีกระดูกสันหลังคดงอ )  ✍️เก็บแบบโดยใช้วิธีวัดขนาด+ภาพถ่าย+ xray ไม่ได้ใช้ 3D scanner  💻Brac...