วันศุกร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

กายอุปกรณ์สำหรับเด็กโรคสมองพิการ

กายอุปกรณ์สำหรับเด็กโรคสมองพิการ
Orthoses and the Child with Cerebral Palsy (CP)

       กายอุปกรณ์หนึ่งในทีมด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู ถูกนำมาใช้ในการฟื้นฟูสมรรถภาพของเด็กพิการทางสมอง โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมสมรรถภาพของผู้ป่วยให้สูงสุดภายให้ข้อจำกัดของความพิการนั้น โรคสมองพิการส่งผลกระทบต่อระบบประสาทและกล้ามเนื้อของผู้ป่วย ทั้งความผิดปกติทางพยาธิสรีระเบื้องต้น และความผิดปกติทางสรีระที่เพิ่มขึ้นในระยะยาว ได้แก่ การผิดแนวของโครงร่าง การติดงอของข้อ การผิดรูปของกระดูก ความตึงตัวของกล้ามเนื้อที่ผิดปกติ ความไม่สามารถควบคุมการใช้งานกล้ามเนื้อหรือการทรงตัว เป็นต้น ซึ่งพยาธิสภาพเหล่านี้จะเห็นชัดเจนมากขึ้นเมื่อเด็กโตขึ้น 
กายอุปกรณ์ชนิดที่ใช้ในผู้ป่วย CP เรียกว่า กายอุปกรณ์เสริม(Orthoses) ประเภท custom made orthoses ซึ่งมีรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งนี้การพิจารณาจะมีความจำเพาะตามความเหมาะสมแก่ผู้ป่วยเป็นรายๆไป โดยมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ดังนี้
                   Stabilizing/Supportive
    - ควบคุมการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติของข้อนั้นๆ
    - เพื่อใช้สำหรับดามหลังผ่าตัด
    - เพื่อเพิ่มความมั่นคงขณะยืนและเดิน ให้เท้ายืนเต็มพื้น
    - เพื่อพยุงข้อต่อต่างๆที่ไม่มั่นคง(ex. ankle instability)
                   Assistive
    - ช่วยทำหน้าที่ทดแทนหน้าที่ของกล้ามเนื้อที่มีปัญหา เช่น สปริงที่ข้อเบรส  ซึ่งช่วยในการกระดกขึ้นของข้อเท้าอ่อนแรง
                   Corrective
     - เพื่อดัด แก้ไขส่วนที่ผิดรูปให้กลับมาอยู่ในท่าปกติและไม่ผิดรูปเพิ่มขึ้น
                   Protective
     - ป้องกันการผิดรูปจากความไม่สมดุลของระบบกล้ามเนื้อ
     - เพื่อป้องกันการลงน้ำหนักลงในจุดที่บาดเจ็บหรือบอบบาง
ขั้นตอนการทำ custom made orthoses
แผนภูมิแสดงสัดส่วนชนิดorthoses ที่ผู้ป่วย CPเข้ามารับบริการในคลินิกPO 
Orthosesจะใช้หลักชีวกลศาสตร์ในการจัดแนวการทรงของผู้ป่วย ในเด็ก CP มักนิยมใช้ Ankle foot orthosesหรือshort legs orthoses เนื่องจากมีขนาดและน้ำหนักที่พอเหมาะ ในการควบคุมความบกพร่องของขาผู้ป่วย โดยใช้หลักการของ 3 point pressure(3PP) และ ground reaction force(GRF)
3PP systems of the ankle foot
3PP contral systems to prevent plantarflexion(A), dorsiflextion(B), inversion(C), eversion(D), abduction(E), Adduction(F
Calcaneus valgus correction by GRF                     Equinovarus correction by 3PP
กายอุปกรณ์เสริมชนิดล่าสุดที่ทางเราได้พัฒนาขึ้นมาคือ Hip Abduction Orthoses (HAO) ซึ่งนำมาใช้ในการดูแลเด็กพิการทางสมองที่พบปัญหาความผิดปกติของข้อสะโพกร่วมด้วย โดยจะพิจารณาใช้ใน 2 โปรแกรมคือ โปรแกรมการป้องกันข้อสะโพกเคลื่อน/หลุด  และโปรแกรมการดูแลหลังผ่าตัดในระยะยาว 

วันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557

AFO กับแผลหายยากกส์ (เบาหวาน ฯลฯ)

AFO กับแผลหายยากกส์ (เบาหวาน ฯลฯ)
  Chronic wound แผลเรื้อรัง/แผลหายยาก คือแผลที่เกิดขึ้นแล้วไม่หายในเวลาที่ควรจะเป็น คือ หายช้า ไม่หาย หรือเกิดขึ้นใหม่ซ้ำๆ ขณะที่แผลทั่วไปมักจะหายใน 1 ถึง 2 สัปดาห์
 ส่วนใหญ่หากนึกถึงแผลหายยากเรามักนึกถึงแผลเบาหวาน โดยเฉพาะแผลที่เท้า พบว่า ผู้เป็นเบาหวานประมาณร้อยละ 15 จะเกิดแผลที่เท้า และร้อยละ 14-24 ของผู้ป่วยกลุ่มนี้จะต้องถูกตัดขา ในทางกายอุปกรณ์การร่วมดูแลผู้ป่วยเบาหวานมักเป็น รองเท้าเบาหวาน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดแผลที่เท้าเป็นการป้องกันในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตามในเนื้อหาของตอนนี้จะเน้นไปที่พลาสติกดามขา/AFO ในรูปแบบที่จะเป็นตัวหนึ่งที่สามารถใช้ในการเยียวยาแผลเรื้อรังที่เกิดขึ้นแล้ว
   นอกจากเบาหวานแล้วยังมีปัจจัยอื่นๆอีกมากมายที่มีผลต่อการหายของแผล เช่น การอักเสบเรื้อรัง โรคบางชนิด อาทิ โรคที่เกี่ยวของกับภูมิคุ้มกัน การได้รับยาหรือสารบางชนิด การขาดเลือดไปเลี้ยงที่บาดแผล เนื่องจากหลอดเลือดไปเลี้ยงบริเวณแผลมีปัญหา การเคลื่อนไหวมากเกินไปของบาดแผล การได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ การสูบบุหรี่ การทําแผลและการรักษาที่ผิดวิธี อายุ เป็นต้น
 ชนิดของ AFO ที่จะมาแนะนำในครั้งนี้ คือ PTB AFO ซึ่งเคยเขียนหลักการเกี่ยวกับมันไว้บ้างแล้วในบทความอื่น แต่ PTB AFO ครั้งนี้จะมี modified เพิ่มขึ้นเล็กน้อยสำหรับแผลที่ฝ่าเท้า
ดังในรูปตัวอย่าง คนไข้อายุ 5 ปีมีแผลเรื้อรังที่ฝ่าเท้า เริ่มต้นจากแผลเล็กๆจากเศษก้อนหิน แล้วลุกลามขึ้นดังภาพ แน่นอนว่าคนไข้มีโรคประจำตัวอื่นอยู่ด้วย การเยียวยาบาดแผลจึงไม่ปกติ อีกปัญหาหนึ่งคือ คนไข้สูญเสียการรับรู้ความรู้สึกของขาตั้งแต่ระดับใต้เข่าลงไป นั่นหมายถึงเค้าจะไม่รู้สึกเจ็บแม้ลงน้ำหนักที่แผลหรือมีแผลเพิ่มขึ้น การดูแลก็ยังมีปัญหาอีกว่าด้วยความที่คนไข้ยังเด็กการที่ผู้ปกครองจะห้ามไม่ให้เค้าเดินในขณะที่เด็กยังมีแรงเดิน ไม่รู้สึกเจ็บและอยากวิ่งเล่นสนุก เป็นไปได้ยากที่จะควบคุม


ในปัญหาเช่นนี้ PTB AFO ซึ่งถูกออกแบบมาให้ป้องกันการลงน้ำหนักในส่วนที่บอบบางหรือมีปัญหา คือจะยันการลงน้ำหนักไว้ที่ patella tendon และส่วนต่างๆของหน้าแข้ง(ดังหลักการที่เคยอธิบายไว้ในบทอื่น) เสริมด้วยการเว้าลงของอุปกรณ์จุดที่รองรับแผล(โดยเทคนิคการทำอุปกรณ์) จะทำให้มีการกระจายแรงกดออกไปจากบริเวณบาดแผล จะช่วยป้องกันการกดกระแทกต่อบาดแผล บาดแผลก็จะไม่ถูกกระทบกระเทือน ในขณะที่คนไข้ยังสามารถเดิน/วิ่งได้ตามปกติ อุปกรณ์ประเภทนี้ต้องหล่อเฉพาะบุคคล สามารถใช้ได้กับทุกอายุวัย มีข้อดีเพิ่มเติมคือหากคนไข้มีปัญหาอื่นเพิ่มเติม เช่น เท้าบิดผิดรูป ตัวอุปกรณ์ก็ยังสามารถดัดแก้/ปรับ/ออกแบบได้ให้เหมาะสมกับปัญหาของคนไข้จำเพาะบุคคลไป คงทน ง่ายต่อการรักษาความสะอาด และผู้ป่วยสามารถถอดอุปกรณ์เมื่อต้องการทำแผลได้โดยสะดวก

บันทึก 02 เทคโนโลยีกายอุปกรณ์

  Part I:  sco brace ( พลาสติกดามลำตัว สำหรับผู้มีกระดูกสันหลังคดงอ )  ✍️เก็บแบบโดยใช้วิธีวัดขนาด+ภาพถ่าย+ xray ไม่ได้ใช้ 3D scanner  💻Brac...