วันเสาร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2556

เรื่องของเท้า(ต่อ)


 ครั้งที่แล้วได้กล่าวปัญหาเท้าเฉพาะเท้าแบน ซึ่งเป็นปัญหาของเท้าส่วนกลางและเท้าส่วนหลังที่พบบ่อย แต่ยังมีปัญหาเท้าอื่นๆอีกมากที่พบๆwด้ทั่วไป แม้แต่เจ้าตัวเองอาจไม่เคยรู้ตัวว่ามีเท้าผิดปกติ ดังนี้

Pes Cavus 
     Pes cavus หรือ high-arch foot เป็นภาวะที่มีอุ้งเท้าสูงกว่าปกติ เกิดจากกระดูก metatarsal อยู่ในตำแหน่งงอลงด้านฝ่าเท้าเมื่อเทียบกับเท้าส่วนหลัง
ลักษณะpressure ที่กระจายบนฝ่าเท้าขณะยืน ซ้ายสุด(เท้าปกติ) ขวาสุด(เท้าโก่งขั้นรุนแรง)

   สาเหตุเกิดได้ทั้งเป็นมาแต่กำเนิดหรือเท้าผิดรูปในภายหลัง การใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม เช่น รองเท้าส้นสูงหรือรองเท้าที่มีพื้นรองเท้าแข็งเกินไป ต่อเนื่องกันเป็นเวลานานสามารถทำให้เกิดความผิดปกตินี้ได้  มีอาการคือเท้าโก่ง อาจพบนิ้วเท้างอและส้นเท้าบิดเข้าในร่วมด้วย เท้าจะมีลักษณะเป็นคานแข็ง ดังนั้นผู้ป่วยจะมีปัญหาว่าเท้าขาดความยืดหยุ่นที่จะปรับตัวกับพื้นที่ทางเดิน และขาดคุณสมบัติในการดูดซับแรงกระแทก ทำให้มีแรงกดที่เท้ามากกว่าปกติ ในบริเวณหัวกระดูก matatarsal ด้านข้างเท้าและส้นเท้า 
    ปัญหาที่พบตามมาคือ บริเวณที่รับแรงกดมาก หนังเท้าส่วนนั้นก็เริ่มด้านเป็นตาปลา และอาการปวดเท้าตามมา และโยงไปถึงการเกิด โรครองช้ำ (plantarfasciitis ) อาการปวดตรงฐานนิ้วเท้า (Metatarsalgia) การคดงอของนิ้วเท้า

    การดูแลรักษาทางกายอุปกรณ์
     เนื่องจากเป็นเท้าชนิดที่ไม่มีความยืดหยุ่นในการเดิน ตัวอุปกรณ์จึงต้องช่วยในการดูดซับแรงกระแทกขณะก้าว (heel strike) มักจะใช้ในรูปของinsole หรือแผ่นรองฝ้าเท้าตัดเฉพาะบุคคล โดยการเลือกใช้วัสดุที่มีความหนาแน่นระดับกลางสำหรับรองรับแรงกระแทก และแผ่นรองที่โค้งนูนรับกับฝ่าเท้าจะช่วยกระจายแรงต่อฝ่าเท้า ลดแรงที่จะกดซ้ำไปยังตาปลาได้

Hallux Valgus 
      Hallux Valgus หรือนิ้วหัวแม่เท้าเกออกนอก เกิดจากการเคลื่อนออกจากตำแหน่งปกติของข้อ 1st MTP ส่งผลให้เยื่อหุ้มข้อทางด้านในถูกดึงยืดและอ่อนแอ ส่วนเอ็นและเยื่อหุ้มข้อด้านนอกจะหดสั้น อาจทำให้เกิดการดึงรั้งของเส้นประสาท medial dorsal cutaneous จนบาดเจ็บ หากผู้ป่วยใส่รองเท้าหน้าแคบ ก็อาจทำให้ข้อตรงนี้เสียดสีกับรองเท้าจนอักเสบได้ 
  
สาเหตู ปัจจัยหนึ่งคือ พันธุกรรม พบว่าร้อยละ 63 มีประวัติทางครอบครัวเป็นโรคนี้ และปัจจัยอื่นๆเช่น โรคข้ออักเสบ การใส่รองเท้าหน้าแคบและส้นสูง 
การรักษาทางกายอุปกรณ์
       แนะนำการปรับเปลี่ยนรองเท้าที่เหมาะสม เช่นการใส่รองเท้าหน้ากว้าง การใช้ toe separatorซึ่งมีทั้งแบบชื้อสำเร็จรูปและหล่อเฉพาะ การใส่แผ่นรองฝ่าเท้าสำหรับลดการกระจายน้ำหนักลงข้อที่ผิดรูป เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556

เรื่องของเท้า

     เท้าประกอบด้วยกระดูกชิ้นเล็กๆข้างละ 26 ชิ้น (และกระดูก sesamoid 2 ชิ้น) เมื่อรวมกัน 2 ข้าง เท้าจะมีกระดูกถึง 52 ชิ้น ซึ่งเป็น 1 ใน 4 ของจำนวนกระดูกทั้งหมดในร่างกาย
     เท้าแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ เท้าส่วนหลัง (hindfoot) ประกอบด้วย กระดูก talus และ กระดูก calcaneus เท้าส่วนกลาง (midfoot) ประกอบด้วยกระดูก navicular  กระดูก cuboid และ กระดูก cuneiform 3 ชิ้น และเท้าส่วนหน้า (forefoot) ประกอบด้วยกระดูก metatarsal 5 ชิ้น กระดูก phalanges 14 ชิ้น และกระดูก sesamoid เล็กๆ 2 ชิ้น


แรงที่มากระทำต่อเท้า
         ในขณะเดินมีเเรงกระทำต่อเท้าข้างละประมาณ 120% ของน้ำหนักตัว และในขณะวิ่งมีแรงกระทำต่อเท้าสูงถึงข้างละประมาณ 275% ของน้ำหนักตัวมีการศึกษาพบว่าผู้ชายน้ำหนักตัว 68 กิโลกรัม เท้าแแต่ละข้างต้องรับน้ำหนัก 63.5 ตัน ในขณะเดิน และ 100 ตัน เมื่อวิ่งเป็นระยะทาง 1.6 กิโลเมตร
       ในขณะยืนเท้าเปล่าพบว่าแรงที่มากระทำต่อฝ่าเท้าจะมีการกระจายในแต่ละจุดไม่เท่ากัน คือส้นเท้า 60% เท้าส่วนกลาง 8% เท้าส่วนหน้า 28% และนิ้วเท้า 4%


แสดงแรงที่กระทำต่อฝ่าเท้าแต่ละจุดขณะยืน
พยาธิสภาพของเท้าที่พบได้บ่อย

      1.  เท้าแบน หรือ pes planus หรือ flat foot
             เป็นลักษณะที่เท้ามีความสูงของอุ้งเท้าลดลง ( ความสูงของ medial longitudinal arch ลดลง) ส่งผลให้บริเวณอุ้งเท้าที่ต่ำลงต้องรับน้ำหนักมากขึ้น(จากอัตราปกติ) คนไข้มักมีอาการปวดเท้าขณะเดิน ซึ่งสาเหตุนี้สามารถทำให้เกิด โรครองช้ำ (plantarfasciitis ) และ อาการปวดตรงฐานนิ้วเท้า (Metatarsalgia)
และอาจมีกระดูกส้นเท้าบิดออกด้านนอกร่วมด้วย(calcaneal valgus)  นอกจากนี้เข่าอาจอยู่ในท่าบิดออก
(genu valgum)
ระยะอาการของเท้าเเบนผิดรูปจากเท้าปกติ (ซ้าย) จนถึงเท้าเเบนผิดรูป รุนเเรง (ขวา)

             เท้าเเบนมีอยู่ 2 ประเภท คือเเบบดัดเเก้ได้ (flexible) อุ้งเท้าจะเเบนขณะที่ยืนลงน้ำหนัก เเต่จะมีอุ้งเท้าเมื่อยกเท้าขึ้นหรือยืนเขย่งเท้า ซึ่งเท้าเเบนชนิดนี้พบได้บ่อยกว่า เเละเเบบติดเเข็ง (fixed) อุ้งอุ้งเท้าจะเเบนทั้งในขณะที่ยืนลงน้ำหนักเเละยกเท้าขึ้น
             โดยทั่วไปการวินิจฉัยอาศัยการตรวจร่างกายเเละการพิมพ์รอยเท้า เด็กเล็กๆในช่วงอายุ 1-2 ปี เเรกมักมีเท้าค่อนข้างเเบน เนื่องจากมีไขมันบริเวณอุ้งเท้าด้านในมาก เเละเมื่อโตขึ้นจะเริ่มมีอุ้งเท้ามากขึ้น ภาวะเท้าเท้าเเบนพบได้จนถึงอายุ 6 ปี 
             สาเหตุของเท้าเเบนยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน สันนิฐานว่าเกิดจากความผิดปกติของการเรียงตัวของกระดูกภายในเท้า ถ้าเป็นเท้าเเบนที่เกิดขึ้นภายหลังมักเกิดจากTendonของกล้ามเนื้อTibialis Posterior ขาด 

             การดูเเลรักษาทางกายอุปกรณ์
             
             - ในเด็กที่ยังไมjอาการยังไม่ต้องรักษา 
             - ในกรณีที่มีอาการ จะใช้เเผ่นรองรองเท้าหล่อพิเศษเฉพาะตัวบุคคลสำหรับพยุงอุ้งเท้าเเละช่วยกระจายเเรงที่กระทำต่อฝ่าเท้าเพื่อลดอาการป่วดของผู้ป่วยเเละป้องกันไม่ให้เท้าผิดรูปมากขึ้น
            



              

บันทึก 02 เทคโนโลยีกายอุปกรณ์

  Part I:  sco brace ( พลาสติกดามลำตัว สำหรับผู้มีกระดูกสันหลังคดงอ )  ✍️เก็บแบบโดยใช้วิธีวัดขนาด+ภาพถ่าย+ xray ไม่ได้ใช้ 3D scanner  💻Brac...