วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2564
🏃♂️เบรสดามขากันเท้าตก ชนิดสำเร็จรูป🏃♂️
🦶ปัญหาภาวะเท้าตก (Foot Drop) : คือลักษณะที่กระดกปลายเท้าไม่ขึ้น ทำให้ตอนเดินจะเดินลากเท้า หรือก้าวเดินโดยงอข้อสะโพกและข้อเข่าเพิ่มขึ้น (Steppage gait) เพื่อยกปลายเท้าให้พ้นพื้น
👣สาเหตุ : ค่อนข้างหลากหลายทั้งจากการบาดเจ็บของเส้นประสาท หรือจากกล้ามเนื้อและเส้นประสาทผิดปกติ เช่นในกลุ่มผู้ป่วยความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง 🧠 โรคหลอดเลือดสมอง โรคเนื้องอกบริเวณสมองและไขสันหลัง และโรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทไขสันหลัง หรือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทส่วนปลาย 🦵โรคปลายประสาทอักเสบ
🚶♂️🚶♂️ผลกระทบต่อการเดิน : ทำให้เดินยากขึ้น ความมั่นคงในการเดินลดลง เสี่ยงต่อการหกล้ม
🏃♂️🏃♂️ประโยชน์ของเบรสดามขากันเท้าตก: เพื่อช่วยประคองข้อเท้าขณะเดิน ทำให้เดินได้ง่ายขึ้น ให้มีความมั่นคงในการเดิน เดินได้สะดวกขึ้นและลดความเสี่ยงต่อการหกล้ม
ในบทความนี้จะเป็นการแนะนำ 4 ชนิดของเบรสดามขากันเท้าตก ชนิดสำเร็จรูป รายละเอียดดังรูป ประกอบ ทั้งนี้
✨เบรสดามขากันเท้าตกมีชื่อเรียกหลากหลาย เช่น AFO (ankle foot orthosis)
✨ชนิดที่กล่าวถึงในโพสนี้เป็นชนิดที่ใช้สำหรับเดิน หรือ เรียกว่า walking AFOs (ankle foot orthoses)
อนึ่ง การแยกชนิด AFO สามารถอ่านได้ที่
https://www.facebook.com/1597747523843749/posts/2725696007715556/
✨AFOชนิดสำเร็จรูปเหล่านี้ ไม่เหมาะกับ การนำมาใช้ในผู้ที่มีข้อติด ผิดรูป หรือมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อมาก ทั้งนี้มักพิจารณาให้ใช้ชนิดหล่อทำเฉพาะบุคคลแทน
✨การพิจารณาชนิด รวมถึงดีไซน์ของ เบรสดามขาชนิดกันเท้าตกที่เหมาะสมในแต่ละบุคคลให้ปรึกษานักกายอุปกรณ์ (certified prosthetist&orthotist)
✨AFO ชนิดสำเร็จรูปมีข้อดี คือ มีให้เลือกหลากหลาย มักทดลองใส่ก่อนได้ ไม่ต้องรอผลิตของ ราคาถูกกว่าชนิดหล่อทำเฉพาะบุคคลมาก(เมื่อเทียบจากวัสดุแบบเดียวกัน)
✨โดยปกติเราจะต้องการเบรสดามขากันเท้าตกที่สามารถประคองข้อเท้าขึ้นมาได้ถึงท่ากลาง neutral position.(มองง่ายๆคือเท้ากับขาตั้งฉากกัน)
🦶ชนิดนี้มักมีแรงในการยกปลายเท้าขึ้น เพื่อป้องกันเท้าตกได้ค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับชนิดอื่นๆ
🚶♂️ข้อดี : มักมีน้ำหนักเบา มีรูปแบบหลากหลายทั้งสายสลิงแบบสั้น/แบบยาว มีทั้งแบบที่รัดจากหลังเท้าแล้วพยุงขึ้นโดยตรงหรือแบบที่ยึดกับรองเท้า
💰ราคา: 2xx-2,xxx บาท (ขึ้นอยู่กับยี่ห้อ วัสดุ ดีไซน์)
📌ข้อเสนอแนะ: ส่วนตัวไม่แนะนำชนิดนี้สำหรับเป็นอุปกรณ์หลักในผู้ที่มีปัญหาเท้าตก เนื่องจากมีแรงประคองน้อย แต่หากผู้ใช้มีความต้องการจะใช้จริงๆ จะแนะนำให้ใช้เป็นตัวสำรอง สำหรับเดินในบ้านหรือระยะทางสั้นๆ
📍ปล. บางคนเห็นว่าหน้าตาคล้ายกันจนไปสับสนกับ ankle supportอื่นๆ เช่น ankle lace up brace วัตถุประสงค์ในการใช้งานต่างกันนะคะ ใช้แทนกันไม่ได้ ถ้าเป็นตัว ankle lace up brace พวกนี้ใช้ค่อนข้างได้ผลดีกับผู้ที่มีปัญหาข้อเท้าแพลง ไว้จะแนะนำในโพสต่อๆไป
🦶AFO ชนิดสำเร็จรูปแบบพลาสติก เป็นชนิดที่นิยมใช้กันมากทั่วโลก ให้แรงประคองที่เพียงพอในการประคองเท้าให้อยู่ในท่ากลาง ช่วยเรื่องปัญหาเดินเท้าตกได้ดี
🚶♂️ข้อดี : ราคาไม่สูง ปรับแก้ได้ง่าย ด้วยปืนร้อน
💰ราคา : 1,xxx-4,xxx บาท (ขึ้นอยู่กับยี่ห้อ ชนิดพลาสติก บริการหลังการขาย )
📌ข้อเสนอแนะ
✨หลักๆแล้วดีไซน์ภายนอกจะมี 2 แบบ คือแบบพลาสติกยาวเต็มเท้า กับแบบพลาสติกยาว ¾ ของความยาวเท้า ทั้งสองแบบนี้ไม่มีแบบไหนดีกว่ากันขึ้นอยู่กับการพิจารณาเฉพาะราย เช่นแบบเต็มเท้าจะยาวเต็มพื้นที่ในรองเท้าทำให้ไม่ขยับเลื่อนภายใน หรือแบบ3/4 จะสวมเข้าไปในรองเท้าง่ายกว่า (อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยอื่นๆให้นักกายอุปกรณ์พิจารณาร่วมด้วย)
✨พบว่าสินค้าพลาสติก AFO ในแต่ละยี่ห้อ แม้หน้าตาภายนอกคล้ายๆกัน แต่มีรายละเอียดของทรงฝ่าเท้าไม่เหมือนกัน ความแข็ง/ความยืดหยุ่นของวัสดุก็ต่างกัน
✨วิธีหา AFO ที่เหมาะสมกับตนเอง คุณควรได้รับการประเมินจากนักกายอุปกรณ์ เพื่อคัดเลือก AFO ที่เหมาะสมที่สุด
✨ส่วนตัวไม่พบว่ามี AFO ตัวไหนที่จะดีที่สุดสำหรับผู้ใช้ทุกๆคน เช่น บางคนใช้ยี่ห้อ OTS Grenace AFO แล้วเดินได้ดี ขณะที่บางคนใช้ Supralite AFO แล้วกลับเดินได้คล่องกว่า ทั้งนี้มีทั้งปัจจัยทั้งจากตัวผู้ใช้เอง เช่น อายุ น้ำหนัก อาการของโรค 👉 อ่อนแรงมาก หรือพอมีกำลังบ้าง หรือมีอาการเกร็งร่วมด้วยหรือไม่ ฯลฯ) ร่วมกับปัจจัยความแข็ง, ความยืดหยุ่น, ดีไซน์ ของพลาสติก AFO ร่วมกันทำให้ผลออกมาแตกต่าง
✨เนื่องจากเป็นอุปกรณ์สำเร็จรูป ดังนั้นอาจใส่ได้ไม่พอดีเป๊ะ หากมีปัญหาผู้ใช้ไม่ควรปรับแก้ ตัด ดัดด้วยตัวเอง เดี๋ยวจะยิ่งพัง ควรปรึกษานักกายอุปกรณ์
✨ต้องใส่กับรองเท้าเท่านั้น ห้ามใส่แล้วเดินเท้าเปล่า มันจะลื่นล้ม
AFO ชนิดนี้วัสดุจะเป็นคาร์บอนไฟเบอร์ ตัวดีไซน์มีหลากหลายไม่แพ้แบบพลาสติก มีความแข็งแรงสูง ด้วยตัววัสดุทำให้มี energy return เมื่อก้าวเดิน ช่วยให้เดินคล่อง เดินง่าย ประหยัดพลังงานในการเดิน
ราคา : 20,000 ++ บาท
ข้อแนะนำ
จากประสบการณ์พบว่าผู้ใช้ส่วนใหญ่กว่า 70 % (ตปท) ที่เคยใช้ plastic AFO พอใจที่จะเปลี่ยนมาใช้ carbon fibre AFO หลังได้ทดลองใช้ หลักๆคือตัวคุณสมบัติของวัสดุที่ช่วยให้เดินได้คล่องตัวกว่า, อีก 20% รู้สึกเฉยๆ ไม่แตกต่าง จึงเลือกที่จะใช้แบบพลาสติกเพราะถูกกว่าม และอีก 10% รู้สึกว่าแบบพลาสติกเดินง่ายกว่า (อย่างที่เคยกล่าวไปก่อนหน้า “ไม่พบว่ามี AFO ตัวไหนที่จะดีที่สุดสำหรับผู้ใช้ทุกๆคน”)
ในไทยตัว carbon fibre AFO ยังไม่นิยมมากนัก ส่วนหนึ่ง ด้วยราคาที่ค่อนข้างสูง
ราคา : 20,000 ++ บาท
ข้อแนะนำ
จากประสบการณ์พบว่าผู้ใช้ส่วนใหญ่กว่า 70 % (ตปท) ที่เคยใช้ plastic AFO พอใจที่จะเปลี่ยนมาใช้ carbon fibre AFO หลังได้ทดลองใช้ หลักๆคือตัวคุณสมบัติของวัสดุที่ช่วยให้เดินได้คล่องตัวกว่า, อีก 20% รู้สึกเฉยๆ ไม่แตกต่าง จึงเลือกที่จะใช้แบบพลาสติกเพราะถูกกว่าม และอีก 10% รู้สึกว่าแบบพลาสติกเดินง่ายกว่า (อย่างที่เคยกล่าวไปก่อนหน้า “ไม่พบว่ามี AFO ตัวไหนที่จะดีที่สุดสำหรับผู้ใช้ทุกๆคน”)
ในไทยตัว carbon fibre AFO ยังไม่นิยมมากนัก ส่วนหนึ่ง ด้วยราคาที่ค่อนข้างสูง
TurboMed XTERN AFO ตัวนี้เป็น AFO ดีไซน์ใหม่ที่น่าสนใจดีค่ะ เลยเอามาใส่ไว้ด้วย มองว่ามีข้อดีไม่แพ้ ชนิดที่ ๓ carbon fibre AFO ในแง่ของการช่วยให้เดินง่าย เดินคล่องขึ้น ด้วยดีไซน์ที่ยึดกับรองเท้าโดยตรงทำให้ไม่ไปเกะกะผิวผู้ใช้งาน ผู้ใช้บางคนที่เคยใช้ carbon fibre AFO จึงเลือกเปลี่ยนมาใช้TurboMed XTERN AFO
วัสดุ: highly durable thermoplastic
ราคา :ไม่ทราบราคาที่ไทย แต่ของ ตปท จะราวๆ 2x,xxx บาท
ข้อแนะนำ :
จากประสบการณ์การใช้ตัวนี้ใน ตปท พบว่าผู้ใช้เดิมยังเลือก carbon fibre AFO อยู่ เพราะชอบดีไซน์แบบเดิมๆ และราคาที่ถูกกว่า (ที่ ตปท ราคา carbon fibre AFO เพียงหมื่นต้นๆ)
คลิปตัวอย่างการเดินด้วย TurboMed XTERN AFO ในผู้มีปัญหาเท้าตก
https://youtu.be/QX_KuSoqRBU
วัสดุ: highly durable thermoplastic
ราคา :ไม่ทราบราคาที่ไทย แต่ของ ตปท จะราวๆ 2x,xxx บาท
ข้อแนะนำ :
จากประสบการณ์การใช้ตัวนี้ใน ตปท พบว่าผู้ใช้เดิมยังเลือก carbon fibre AFO อยู่ เพราะชอบดีไซน์แบบเดิมๆ และราคาที่ถูกกว่า (ที่ ตปท ราคา carbon fibre AFO เพียงหมื่นต้นๆ)
คลิปตัวอย่างการเดินด้วย TurboMed XTERN AFO ในผู้มีปัญหาเท้าตก
https://youtu.be/QX_KuSoqRBU
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
บันทึก 02 เทคโนโลยีกายอุปกรณ์
Part I: sco brace ( พลาสติกดามลำตัว สำหรับผู้มีกระดูกสันหลังคดงอ ) ✍️เก็บแบบโดยใช้วิธีวัดขนาด+ภาพถ่าย+ xray ไม่ได้ใช้ 3D scanner 💻Brac...
-
ปัญหาการเดินในเด็ก กรณีแรก เด็กเดินเขย่ง ซึ่งก็มีสาเหตุหลายอย่าง ทั้งจากนิสัยของเด็กเอง จากเส้นเอ็นของส้นเท้าหดสั้นมาแต่กำเนิด หรือผลจากควา...
-
ขาเทียมหลักๆแบ่งได้สองแบบ เรียกว่า แบบแกนใน (endoskeletal or modular design) กับแบบแกนนอก (exoskeletal design) ทั้งสองแบบมีความแตกต่างกันมาก...
-
จากประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาพบว่า เคสของผู้ที่เข้ามาปรึกษาเรื่องแขนเทียมมักมีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุ รองลงมาคือ เคสจากความพิการแต่กำเนิด ส่ว...